Add Me ON

About

คอลัมน์ ลับเฉพาะ : วิศวกร อาชีพซุปตาร์ในยุคอุตสาหกรรม 4.0

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์ 


          ก่อนหน้านี้ Trunk เคยพูดถึงภัยแรงงานคนที่อาจจะถูกคุกคามด้วยเครื่องจักรสมองกลในอนาคตอันใกล้นี้     (http://magazinetrunk.blogspot.com/2016/04/agideep-q-alphago.html ) แต่วันนี้ Trunk จะขอมาพูดถึงสถานการณ์ความต้องการของตลาดแรงงานไทยในปัจจุบันกันบ้าง เพราะแม้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนจะเริ่มมองเทรนด์การมาของเทคโนโลยีสุดล้ำจะมีบทบาทต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหลักของประเทศ แม้แต่อดีตปลัดกระทรวงการคลังอย่าง ดร. สถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ก็คาดถึงบริบทเศรษฐกิจในอนาคต ว่ามีโอกาสสูงที่อุตสาหกรรมต่างๆ จะถูกคับเคลื่อนด้วยแรงงานสมองกลเสียส่วนใหญ่  แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีผู้ประกอบกิจการรายใดดำเนินแผนดึงเครื่องจักรมาแทนแรงงานมนุษย์อย่างเต็มรูปแบบ กลับกันบริษัททั้งหลายยังคงเรียกหานักวิศวกรมากกว่าจะทุ่มเงินให้กับเครื่องจักรราคาแพง




          ในช่วงปี 2555 เหล่านักศึกษาจบใหม่เคยกล่าวตัดพ้อถึงปัญหาแรงงานวิศวกรที่ล้นตลาด ขณะที่นักศึกษาก็มีความต้องการเข้าศึกษาสายจักกลกันมาก เนื่องจากช่วงนั้นอาชีพวิศวกรมีผลตอบแทนด้านรายได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้ทำการวิจัยด้านรายได้ของนักศึกษาจบใหม่วุฒิปริญญาตรีกว่า 20 สาขา ในปี 2554 ซึ่งการรับวิศวกรวุฒบัณฑิตในตอนนั้น มีโอกาสสูงที่บริษัทจะรับเข้าทำงานในวงเงินถึง 14,532 บาท ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่สูงมากในช่วงเวลาและหากมีความสามารถและประสบการณ์เพียงพอ ก็มีโอกาสสูงที่จะโดนซื้อตัวเข้าสู่บริษัทยักษ์ใหญ่ทำให้โอกาสเงินเดือนดีดตัวขึ้นมีมากขึ้นเป็นเท่าตัว แต่ด้วยช่วงเวลานั้นประเทศไทยยังอยู่ในช่วง อุตสาหกรรมเบา หรือ อุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นการนำวัตถุดิบมาสร้างรายได้โดยไม่มีการแปรรูปจากโรงงานและมุ่งเน้นใช้แรงงานเป็นหลัก ส่งผลให้ตำแหน่งงานวิศวกรรมมีไม่เพียงพอต่อนักวิศวกรจบใหม่

          จนเมื่อปี 2559 ความต้องการนักวิศวกรกลับมีมากขึ้นเป็นปรากฏการณ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากแรงขับของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไทยในทุกมิติให้เข้าสู่ยุค 4.0 ทั้ง เกษตร 4.0 เศรษฐกิจ 4.0 หรือแม้กระทั้ง อุตสาหกรรม 4.0 แถมรัฐบาลยังมีการสนับสนุนการกระตุ้นการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลถึง 300% ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างแรงจูงใจผู้ประกอบการไทยน้อยใหญ่ เริ่มให้ความสนใจกับการดำเนินธุรกิจด้วยการเพิ่มมาตรฐานและศักยภาพของผลิตภัณฑ์ให้ถึงขีดสุดผ่านนวัตกรรมหรือการวิจัย The Research and Development (R&D) มากขึ้น และมีการเพิ่มงบประมาณการลงทุนด้านการวิจัยพร้อมก่อตั้งโรงงานเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เปิดรับตำแหน่งผู้ควบคุมโรงงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

          ข้อมูลตลาดแรงงานไทยในปี 2559 จาก www.Jobthai.com  ได้ชี้ให้เห็นว่า อาชีพวิศวกรกำลังเป็นม้ามืดที่ผู้ประกอบกิจการหลายรายเริ่มที่จะเปิดรับและทุ่มทุนในการรับว่าจ้างเข้าทำงานมากขึ้น โดยตำแหน่งวิศวกรได้ขึ้นแท่นเป็น 1 ใน 3 หรือนับเป็นร้อยละ 8.7 ที่บริษัทรับนักศึกษาจบใหม่เข้าทำงานมากที่สุด และยังมีค่าตอบแทนที่ดึงดูดเด็กจบใหม่มากกว่าแต่ก่อนอีกด้วย


          นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ หัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม (JobThai.com) ได้ให้ให้ความสนใจกับความต้องการของผู้ประกอบการด้านแรงงานไทยในด้านวิศวกรที่มากขึ้นอย่างมาก โดยในวันแถลงข่าวด้านผลวิจัยความต้องการตลาดแรงงานในปี 2559 เธอได้กล่าวว่า มีหลายอาชีพที่ได้รับความสนใจและมีฐานเงินเดือนที่สูงมากเป็นปกติ เช่น แพทย์และเภสัชกร และในปีนี้ ตำแหน่งวิศวกรรมก็มีความโดดเด่นและได้รับความสนใจในตลาดแรงงานเป็นพิเศษไม่แพ้กัน โดยผู้ประกอบการที่ประกาศรับสมัครวิศวกรในเว็บwww.Jobthai.com ส่วนใหญ่เปิดรับสมัครตำแหน่งนี้โดยสนนราคาว่าจ้างขั้นต่ำ 15,000 – 18,000 บาทสำหรับนักศึกษาจบใหม่หรือมีประสบการณ์อย่างน้อย 1 ปีและมากกว่า 30,000 บาท สำหรับผู้มีประสบการณ์มากกว่า 1 ปีขึ้นไป ขณะที่ในด้านนักศึกษาจบใหม่เอง ก็กล้ายื่นข้อเสนออัพเงินเดือนให้สูงกว่ามาตรฐาน (15,000 บาท) โดยส่วนใหญ่เงินเดือนที่นักศึกษาจบใหม่เรียกร้อง เฉลี่ยอยู่ที่17,600 - 28,000 บาท และมีบริษัทไม่น้อยที่รับนักศึกษาเข้าทำงานภายใต้อัตราเงินเดือนระดับนี้ 

          อย่างไรก็ตาม ความต้องการของแรงงานวิศวกรถึงจะดูสดใสซักเพียงใด ความน่ากังวลก็ยังหนีไม่พ้นเรื่องของแรงงานเครื่องจักรที่มีโอกาสจะมาทดแทนแรงงานมนุษย์ เพราะหากไม่นับเรื่องมูลค่า AI ที่ยังสูงอยู่ ผนวกกับการพัฒนาใช้งานแทนคนแบบเต็มขั้นที่ยังไม่สามารถทำได้ ก็ถือว่าเป็นแรงงานที่ทำงานได้ดี แถมอึดแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้จะทำให้แรงงานมนุษย์ที่มีศักยภาพไม่สูงมากนัก มีโอกาสโดนผลัดเปลี่ยนหรือออกจากตำแหน่งอย่างเฉียบพลัน โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความแม่นยำค่อนข้างสูงอย่างควบคุมเครื่องจักร ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช้ปัญหาของระบบปัญญาประดิษฐ์ แม้แต่ในบริษัทเอกชน หากคุณมีเงินเดือนสูงมากขึ้นจากประสบการณ์การทำงานเพียงอย่างเดียว ขณะที่ตัวงานกลับไม่ต้องใช้ความสามารถสูงมากนัก ก็มีโอกาสที่คุณจะถูกโยกย้ายออกจากงานได้ เพราะผู้ประกอบการต้องการรับคนใหม่ที่ค่าแรงต่ำกว่าแต่ได้ประสิทธิภาพงานที่ไม่แตกต่างกันมาก 

          ด้วยเหตุนี้ จึงควรค้นหาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเอาไว้และทำงานที่ตนเองช่ำชอง พร้อมสร้างความทำเข้าใจกับงานนั้นๆ ให้ดีกว่าใครๆ ประกอบกับควรติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวตลาดแรงงาน เนื่องจากตลาดแรงงานมีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีเป็นแรงงานหลักและบริษัทจะปรับแผนบริหารแบบไม่ทันตั้งตัว การรับทราบข่าวสารและเรียนรูปแบบการทำงานของเครื่องจักรเหล่านั้นไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ คุณอาจได้สับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้บังคับควบคุมเครื่องจักรเหล่านั้นแทนก็เป็นได้

ข้อมูลอ้างอิง

http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_asean.jsp

http://www.jobthai.com/home/searchjob.php

http://pantip.com/topic/32568079

http://unigang.com/Forum/Topic/11982  

http://www.nso.go.th/ 
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : วิศวกร อาชีพซุปตาร์ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 คอลัมน์ ลับเฉพาะ : วิศวกร อาชีพซุปตาร์ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 Reviewed by tonygooog on 07:37:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.