Add Me ON

About

คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ภาครัฐพร้อมเพย์ คนไทยพร้อมยัง?

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์ 
         
          ด้วยปนิธานของรัฐบาลในการผลักดันเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ดิจิตอล เกิดเป็นโครงการพร้อมเพย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่ทางภาครัฐขับเคลื่อนเส้นทางบริการทางการเงินให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับประชาชนที่ต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการจัดการธุรกรรมทางการเงินให้ดียิ่งขึ่น พร้อมเดินหน้าบริการการเงินดิจิตอล 15 กรกฏาคม 2559 กระตุ้นสร้างบัญชีพร้อมเพย์ โอน 5,000 บาทแรกไร้ค่าธรรมเนียม



          พร้อมเพย์ คือหนึ่งในบริการการเงินที่ล้ำสมัยที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ โดย พร้อมเพย์เป็นการเปลี่ยนชื่อมาจาก “Any ID” นั้นเอง ส่วนเป้าหมายสำคัญของบริการ พร้อมเพย์ คือการ เริ่มและจบจัดการบริหารการเงินผ่านโทรศัพท์ได้อย่างรวดเร็วพร้อมลดต้นทุนด้านดำเนินการลงให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยการร่วมลงทะเบียนมี 3 หลักฐานสำคัญได้แก่ 1.บัญชีธนาคาร 2.โทรศัพท์มือถือ 3.บัตรประชาชน ซึ่งจะมีข้อมูลกลาง (ถังข้อมูล) ส่งผลให้คุณสามารถใช้เบอร์มือถือหรือเลขบัตรประชาชนในการโอนหรือรับเงินได้ ต่างจากอดีตที่คุณต้องใช้เลขบัญชีในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น ทั้งนี้หมายเลขโทรศัพท์สามารถผูกบัญชีเงินฝากได้เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น ขณะที่หมายเลขจากบัตรประชาชนเป็นส่วนสำคัญในการโอนเงินสวัสดิการและโอนลดหย่อนภาษีจากภาครัฐ โดยบริการพร้อมเพย์จะพร้อมให้ให้ลงทะเบียนในวันที่ 15 กรกฏาคม 2559 เพื่อเข้าสู่ระบบข้อมูลกลาง (ถังข้อมูล) ด้านธนาคารที่มีความพร้อมสามารถเปิดลงทะเบียนก่อนกำหนดได้ ตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2559


สำหรับพระเอกในโครงการนี้ คงหนีใม่พ้น ค่าธรรมเนียม เนื่องจากค่าบริการการเงินมีส่วนสำคัญยิ่งต่อพฤติกรรมการของผู้ใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีการปรับค่าธรรมเนียมให้ต่ำลงจนไปถึงไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ  อาทิ ไม่เกิน 5,000 บาท ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม  5,000 – 30,000 ค่าธรรมเนียม 2 บาทต่อหนึ่งรายการ  30,000 100,000 บาท ค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อหนึ่งรายการ และมากกว่า 100,000 บาท ค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อหนึ่งรายการ ซึ่งนับว่าถูกลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมในอดีตทีอัตราค่อนข้างสูง เช่น การโอนเงิน 10,000 บาท ผ่านเคาน์เตอร์ ค่าธรรมเนียม 50 บาทต่อหนึ่งรายการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างสดใหม่และแปลกตาสำหรับประชาชน ส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกขมุกขมัวในการใช้การบริการ พร้อมเพย์ รวมถึงประเมินความสุ่มเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวนั้นค่อนข้างสูง กลายเป็นกระแสต่อต้านการขับเคลื่อนแผนเศรษฐกิจดิจิตอลไปโดยปริยาย

โดยประเด็นส่วนใหญ่ที่หลายคนตั้งแง่กับบริการ พร้อมเพย์ คือการบริการการเงินค่าธรรมเนียมต่ำ เพราะทุกคนต่างทราบดีว่าค่าธรรมเนียมเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของสถาบันการเงินต่างๆ มาโดยตลอด หากค่าธรรมเนียมมีการปรับลดลง ย่อมส่งผลต่อรายได้ของธนาคารเช่นกัน หลายคนจึงเชื่อว่าการบริการ พร้อมเพย์ ในระยะแรกมีวาระซ่อนเร้นอยู่ บางคนคาดการณ์ว่าค่าธรรมเนียมราคาถูกเป็นเพียงโปรโมชั่นในระยะแรกเท่านั้นและอาจปรับตัวเข้าขึ้นในอนาคต ขณะที่บางกลุ่มมองการลดผลกำไรในส่วนนี้ จะเร่งเร้าให้ธนาคารขายประกัน (Bancassurance) เพื่ออุดรู้รั่วด้านรายได้ที่หายไป

อีกส่วนหนึ่งที่ประชาชนยังคงหวาดหวั่นนั้นคือความปลอดภัยในการให้บริการ เนื่องจากในอดีตมีการแฮกเข้าข้อมูล ATM ซึ่งถือเป็นบริการทางการเงินที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใช้บริการบางรายยังคงระแวงกับปัญหาความเสี่ยงในการถูกลักลอบเข้าบัญชี โดยสิ่งส่งเสริมน้ำหนักให้กับคำกล่าวอ้างนี้ นั้นคือ ความพร้อมของสถาบันการเงินในการให้บริการ พร้อมเพย์ เนื่องจากระบบนี้เป็นการปฎิรูปการเงินครั้งใหญ่ เกิดการปรับเปลี่ยนการบริการการงานรวมถึงการบริหารจัดการของธนาคารยกเครื่อง อาจเกิดการประมาลกระแสเงินในธนาคารคลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกับยอดในบัญชีจริง รวมไปถึงระบบล่มต่างๆ เกิดเป็นช่องโหว่ให้เหล่ามิจฉาชีพแทรกแทรงเข้าสู่ระบบได้



สำหรับข้อสุดท้าย คือ ความเข้าใจในการเข้าถึงบริการดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันยังมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงบริการการเงินของธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำข้อมูลสถิติการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือนพบว่า ยังมีผู้ไม่เข้าถึงการบริการการเงินถึงร้อย 12.01โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ไม่มีศักยภาพเข้าร้อยละ 4.23 และกลุ่มไม่ต้องการใช้บริการการเงินสูงถึง 7.78 แม้จะความต้องการมากขึ้นร้อยละ 3.41 ในปี 2553 แต่การมาของ พร้อมเพย์ กำลังเดินหน้าในขณะที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยในประเทศ ยังเข้าถึงบริการการเงินได้เลย

          แม้ทางชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสินจะยืนยันว่าระบบดังกล่าวไม่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างแน่นอน โดยประชาชนจะเริ่มมีการปรับพฤติกรรมจากการใช้บริการการเงินแบบเดิม ให้เข้าสู่ดิจิตอลหรือพร้อมเพย์มากขึ้น แต่ตัวเลขสถิติในปัจจุบันผนวกกับปัญหาความซับซ้อนและความเข้าใจในระบบที่ไม่กระจ่างชัด ความเหลื่อมล้ำด้านการบริการการเงินก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงเช่นกัน

Bansorn คาดว่าด้วยกระแสต้านโครงการ พร้อมเพย์ ที่สูงในขณะนี้ ส่งผลให้การเดินหน้าเศรษฐกิจดิจิตอลยังชะลอตัวจนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจากความสำเร็จในการก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลส่วนสำคัญอยู่ที่ความร่วมมือภาคประชาชน

หากมีความต้องการบีบย่นการเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลภายในเร็ววัน พันธกิจสำคัญจึงตกอยู่ที่ความร่วมแรงร่วมใจของภาครัฐและสถาบันการเงินต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ถึงประชาชนโดยทั่วกัน และต้องมีการเสนอข่าวความเคลื่อนไหวของบริการ พร้อมเพย์ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนตระหนักว่าเป็นสถานการณ์ใกล้ตัวและมีความสำคัญอย่างยิ่ง พร้อมเป็นการกระตุ้นให้เห็นความจำเป็นและร้อยเชื่อมถึงประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรไขข้อกระจ่างด้านการจัดการและมาตรการดูแลความปลอดภัยรวมถึงความรับผิดชอบ กรณีที่เกิดความเสียหาย สำหรับนโยบายค่าธรรมเนียมต้องมีความเป็นธรรม แม้เกิดการปรับเปลี่ยนในอนาคตก็ต้องไม่ขัดประสงค์ของรัฐบาลในการให้ค่าธรรมเนียมไม่ใช่ภาระของประชาชนอีกต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง


คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ภาครัฐพร้อมเพย์ คนไทยพร้อมยัง? คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ภาครัฐพร้อมเพย์ คนไทยพร้อมยัง? Reviewed by tonygooog on 07:37:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.