เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์
หากจะกล่าวว่า การมาของสื่อใหม่อย่างสื่อออนไลน์และสื่อทีวีดิจิทอลคือการร่างประวัติศาสตร์สื่อมวลชนขึ้นมาใหม่ก็คงไม่ผิดนัก เพราะการมาของสื่อใหม่ถือได้ว่าแทบจะเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่พลิกโฉมการนำเสนอข่าวสารที่รวดเร็วทันใจแบบนาทีต่อนาที การสร้างเนื้อหาที่ตื่นตาตื่นใจหลากหลายให้เลือกดูเลือกเสพได้ตามจริตนิยมของแต่ละคน ซึ่งสื่อรุ่นเก่าที่อยู่มาเป็นสิบๆ ปีอย่างโทรทัศน์อนาล็อกหรือสื่อสิ่งพิมพ์ไม่อาจเลียนแบบได้เลย
หากจะกล่าวว่า การมาของสื่อใหม่อย่างสื่อออนไลน์และสื่อทีวีดิจิทอลคือการร่างประวัติศาสตร์สื่อมวลชนขึ้นมาใหม่ก็คงไม่ผิดนัก เพราะการมาของสื่อใหม่ถือได้ว่าแทบจะเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่พลิกโฉมการนำเสนอข่าวสารที่รวดเร็วทันใจแบบนาทีต่อนาที การสร้างเนื้อหาที่ตื่นตาตื่นใจหลากหลายให้เลือกดูเลือกเสพได้ตามจริตนิยมของแต่ละคน ซึ่งสื่อรุ่นเก่าที่อยู่มาเป็นสิบๆ ปีอย่างโทรทัศน์อนาล็อกหรือสื่อสิ่งพิมพ์ไม่อาจเลียนแบบได้เลย
ไม่เพียงแค่นั้น การมาของสื่อใหม่ยังก่อให้เกิดการขยายพื้นที่สื่อที่กว้างขวางมากขึ้น
เปรียบเสมือนเจ้าของที่ดินผู้ใจบุญ ที่ให้ประชาชนตาดำๆ ได้มีโอกาสในการจับจองพื้นที่สื่อได้อย่างเสรี
จนเกิดเป็นปรากฏการณ์อิสระในการทำสื่ออย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากไม่ต้องมีต้นทุนสูงก็สามารถทำงานสื่อในนี้ได้
ทั้งยังออกแบบรายการได้ตามใจชอบสรรสร้างเนื้อหาได้อย่างไร้กฏเกณฑ์หรือข้อกำหนดมาตีกรอบทางความคิด
ไม่เหมือนสมัยที่ทีวีอนาล็อกยังเป็นใหญ่ และสิ่งที่ทำให้สื่อเก่าต่างพากันอิจฉา
นั้นคือเหล่านักโฆษณาหันไปอุปถัมภ์ลงโฆษณากับสื่อออนไลน์หรือทีวีดิจิทอลกันมากขึ้น
ส่งผลให้ส่วนแบ่งด้านผลกำไรของธุรกิจสื่อเกิดอาการผันผวนอย่างรุนแรงในช่วงหลังๆ
มานี้ ด้วยค่าโฆษณาของสื่อใหม่ที่มีราคาถูก
แต่กลับมีคนเข้าถึงตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการในโฆษณาได้ดีกว่าหลายเท่าตัว ผนวกกับสื่อใหม่เกิดขึ้นจำนวนมากทำให้ผู้ลงทุนโฆษณามีโอกาสเลือกลงโฆณาผ่านช่องทางที่สามารถเจาะเข้ากลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
ด้วยผลจากกระแส Popular ของสื่อใหม่ผนวกกับพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป
บทสรุปต่อมาที่นักวิชาการด้านสื่อหลายคนมองเห็นตรงกันคือจุดสิ้นสุดของสื่อบางประเภท
ที่อาจรับผลกระทบด้านผลกำไรที่หดตัวจนไม่สามารถอยู่ได้ และสื่อนั้นคือ สื่อเก่าแก่ที่สุดในโลกอย่างสื่อสิ่งพิมพ์
โดยเฉพาะนิตยสาร
Hope ขอเน้นแค่ นิตยสาร นะครับ ไม่ขอพูดถึงสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบอื่นๆ
อย่าง หนังสือพิมพ์ เพราะถึงแม้หนังสือพิมพ์จะได้รับผลกระทบจาก
เว็บไซค์ หรือ
E-book อยู่บ้าง
แต่หนังสือพิมพ์หัวต่างๆ ก็ยังไม่มีความคิดที่จะวางหนังสือแล้วหันมาทำสื่อออนไลน์เป็นจริงเป็นจังซักคนเดียว
หลายสำนักพิมพ์ใช้โซลเซียลมีเดียหรือทีวีดิจิทอลในการทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
เพื่อส่งเสริมการขายและสร้าง Engagement
ระหว่างผู้บริโภคกับองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
ขณะที่ยังคงมีการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อย่างต่อเนื่องควบคู่กันไปด้วย
“ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ยังคงเป็นที่นิยมของกลุ่มคนที่ยังเข้าไม่ถึงสื่อออนไลน์ อาทิ
ผู้สูงอายุ รวมถึงเหล่า JOMO (Joy of Missing Out) หรือกลุ่มคนที่แอนตี้ข่าวสารบนโลกออนไลน์”
ผิดกลับนิตยสารที่โอกาสรอดริบหรี่ลงอย่างเห็นได้ชัด
โดยเฉพาะหลังภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มทรุดหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจต้นทุนสูงอย่างนิตยสารขาดโอกาสเติบโตในตลาดสื่อ
บวกกับการแข่งขันที่มีเวลาเป็นเดิมพัน ทำให้หนังสือนิตยสารที่มีขั้นตอนการผลิตและเวลาการเผยแพร่ข่าวที่ล่าช้า
ไม่อาจตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ได้ เมื่อผู้บริโภคลดลงการสนับสนุนก็น้อยตาม
และเมื่อไม่มีอู่ข้าวอู่น้ำมาประทังชีวิต สุดท้ายหนังสือหัวต่างๆ
จึงพากันปิดตัวอย่างมิอาจเลี่ยงได้ โดยเฉพาะหนังสือแนวเอาใจผู้หญิงอย่าง นิตยสารซุบซิบ
นิตยสารoops! หรือนิตยสารเปียว รวมถึงข่าวลือของนิตยสารแฟชั่นบางเล่มอย่าง
IMAGE ก็กำลังจะอำลาแผงหนังสือในไม่ช้า
แม้แต่หนังสือกลัดมันอย่าง FHM และ ZOO
ของต่างประเทศก็สู้ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ไหว เมื่อเหล่าผู้ชายกลัดมันทั้งหลายหันไปเพิ่มความกระชุ่มกระชวยในเว็บไซค์โป๊กันมากกว่า
ด้วยท่าทีไม่สู้ดีขนาดนี้ ทำให้คนทำหนังสือบันเทิงบางเล่มถึงกับยอมเปลี่ยนทิศกระโจนลงเล่นในสื่อใหม่อย่างทีวีดิจิทอลเต็มตัว
ด้วยความหวังว่าชื่อเสียงจากหัวหนังสือของเขาจะครองใจประชาชนได้อย่างเมื่อวันวาน
แต่ทุกอย่างย่อมต้องการเวลาพิสูจน์ และสายป่านต้องยาวพอ สุดท้ายก็ไม่ต่างหนีเสือปะจระเข้
บุญเก่าของเขาก็ไม่อาจฉุดให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้
ทว่า
จริงหรือที่สื่อสิ่งพิมพ์อย่างนิตยสารจะตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือแท้จริงแล้วมันจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ยักษ์ใหญ่ไล่ยักษ์เล็กที่ไม่นานก็หยุดไป และเมื่อถึงเวลานั้นนิตยสารก็ไม่ได้ตายจากไปไหน
ที่คิดเช่นนั้นเพราะ Hope ได้ทราบข้อมูลมาว่า ยังมีนิตยสารบางเล่มที่ยังคงอยู่ได้ทั้งที่ไม่มีค่าโฆษณาเข้าเลย
รวมถึงหนังสือบางประเภทที่จำเพาะคนอ่านแบบนับหัวได้ แต่ก็ยังคงยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสล้มละลายของสื่อสิ่งพิมพ์
พวกเขาคือใคร เขาทำได้อย่างไร มีกลยุทธ์อะไรในการฝ่าเศรษฐกิจที่ซบเซาตอนนี้ไปได้
“เราจะหาคำตอบไปพร้อมกันในบทหน้าครับ”
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : นิตยสาร สื่อชราที่รอวันลงโรง หรือเปล่า!! (ปฐมบท)
Reviewed by tonygooog
on
01:07:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: