Add Me ON

About

คอลัมน์ Golden Ranks : รวม 3 วิจัยเด่นๆ ของแดนสยาม

                ก็อย่างที่ได้กล่าวในบทความ “R&D ในไทยกำลังสูญพันธ์ นักวิจัยหายไปไหน?” ว่าวิจัยคุณภาพหรือวิจัยและพัฒนาของประเทศมีจำนวนไม่มากนัก เพราะโดยส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณเสียส่วนใหญ่ และประเด็นในการทำวิจัยก็จะไม่หลากหลาย หรือ หากพูดตามตรงคือการทำวิจัยเพื่อให้ผ่านตามเกณฑ์การศึกษาของมหาวิทยาลัยเท่านั้นเอง ฟังๆ ไปแล้วดูเหมือนจะสิ้นหวังกับการวิจัยนประเทศนี้ใช่ไหมครับ แต่ทาง Bansorn ก็ขอการันตีว่าประเทศไทยก็ไม่สิ้นไปเสียทีเดียว เพราะถึงแม้จะมีอยู่น้อยนิด แต่ก็มีการวิจัยดีๆ ที่ได้ผลิตออกมามากมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมหรือเป็นการวิจัยเพื่อปากท้องของประชาชนให้ดีขึ้นอีกด้วย วันนี้ทาง Banosorn จึงขอรวบรวม 3 งานวิจัยสุดจี๊ดที่โดดเด่นที่สุดจ้า

1.ยางล้อตันประหยัดพลังงาน
วิจัยโดย : ผศ.กฤษฎา สุชีวะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ปี : 2555
ประเภท : นวัตกรรม
เป้าหมายการวิจัย : ลดการใช้พลังงานฟอร์คลิฟท์
ความน่าสนใจ : B


                ถือเป็นข่าวฮือฮาพักใหญ่ในช่วงนั้นเลย สำหรับยางล้อตันประหยัดพลังงานฝีมือคนไทยที่ได้รับการการันตีว่าเป็นยางที่มีศักยภาพเทียบเท่ายางล้อรถดีในตลาดสากล  เนื่องจากเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นด้านประสิทธิภาพการใช้งานที่สูง ยางล้อตันประหยัดพลังงานมีค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานการหมุนสูงกว่า ยางล้อตันทั่วไปร้อยละ 38 และสูงกว่ายางล้อตันของบริษัทต่างชาติอันดับหนึ่งของโลกร้อยละ 14 นอกจากนี้ ยังมี ความต้านทานต่อการสึกกร่อนดีกว่ายางล้อตันเดิมประมาณ 2 เท่า และเมื่อนำไปทดสอบการใช้งานจริงในภาคสนาม พบว่า สามารถทนการสึกกร่อนได้ดีขึ้น กว่ายางล้อตันในตลาดทั่วไปร้อยละ 70 สำหรับยางล้อหน้า และร้อยละ 55 สำหรับยางล้อหลัง มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับยางล้อตันเดิม ซึ่งหากมองในแง่เศรษฐกิจยางล้อตันใหม่ที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้งานรถฟอร์คลิฟท์ (รถยกของที่เห็นได้ตามโรงงาน)ได้ถึงปีละประมาณ 60,000 บาทต่อคันต่อปี จึงเหมาะสำหรับพัฒนาในเชิงพาณิชย์อย่างยิ่ง

อ่านวิจัยเพิ่มเติม : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/602669

2.ยีนก่อโรคในมนุษย์ : การค้นหายีนใหม่และการศึกษาหน้าที่
วิจัยโดย : ศ. นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี : -
ประเภท : องค์ความรู้ทางการแพทย์
เป้าหมายวิจัย : เพื่อการพิเคราะห์โรคได้แม่นยำมากขึ้น
ความน่าสนใจ : B+

(ศ. นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ หัวหน้าโครงการ)

                วงการแพทย์ประเทศไทย นับเป็นอีกหนึ่งศาสตร์อาชีพที่ได้การยอมรับจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก แม้ประสิทธิภาพในภาพรวม อาทิ เครื่องไม้เครื่องมือหรือบุคลากร หมอและพยาบาลจะยังมีหลายจุดที่ต้องพัฒนาเพิ่มก็ตามที ถึงกระนั้นสายอาชีพการแพทย์ก็ไม่หยุดพัฒนาตนเอง มุ่งสร้างบุคลากรชั้นเยี่ยม รวมไปถึงงานสร้างวิจัยต่างๆ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยีนก่อโรคในมนุษย์ : การค้นหายีนใหม่และการศึกษาหน้าที่ คือหนึ่งผลงานวิจัยจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการศึกษาในสายอณูพันธุศาสตร์ โดยมุ่งไปที่การวินิจฉัยโรคร้ายแรงต่างๆ ให้แม่นยำมากขึ้น แถมยังสะดวกและช่วยประหยัดทรัพย์ประชากร เพราะองค์ความรู้ที่ทำให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น ทำให้ทำแพทย์สามารถศึกษายีนที่ตรงกับโรคได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องหว่านแหศึกษายีนทั้งหมดอีกต่อไป แถมยังมีส่วนช่วยลดจำนวนผู้ป่วยพิการอัตราป่วยและอัตราตายของผู้ป่วย ความพิการแต่กำเนิด และปัญญาอ่อนได้อีกด้วย

อ่านวิจัยเพิ่มเติม : https://www.trf.or.th/component/attachments/download/4387

3.การศึกษาการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร กรณีศึกษา: รถตัดอ้อยโรงงาน
วิจัยโดย : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ปี : 2557
ประเภท : ศึกษาและประเมินการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
เป้าหมายการวิจัย : หาจุดคุ้มทุนจากการเก็บเกี่ยวอ้อย
ความน่าสนใจ : C-



                ถ้าจะพูดถึงประเทศไทยแล้วจะมองข้ามอาชีพเกษตรกรที่เปรียบเสมือนอัตลักษณ์ของไทยนั้นก็ดูจะไม่ได้  แต่เมื่อไปดูด้านงานวิจัยเกษตรกรรมแล้วพบว่า นอกจากการค้นหาพืชสายพันธุ์แล้วจะไม่ค่อยมีอะไรที่น่าสนใจเท่าไหร่นักยกเว้น งานวิจัยการศึกษาการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร กรณีศึกษา: รถตัดอ้อยโรงงาน ที่ในภาพรวมก็ถือว่ายังมีโอกาสในการนำข้อมูลวิจัยนี้ไปพัฒนาต่อยอดให้กับเกษตรกรได้ในอนาคต เนื่องจากการวิจัยนี้จะลงลึกถึงต้นทุนและกำไรจากการผลิตอ้อยทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.เจ้าของรถตัดอ้อย 2.จ้างรถตัดอ้อยและใช้แรงงานคน โดยจากการวิจัยการเก็บเกี่ยวอ้อยที่ใช้ต้นทุนที่มากที่สุดคือเจ้าของรถตัดอ้อย 13,406.17 บาทต่อไร่ รองลงมา คือ กรณีจ้างรถตัดอ้อย 11,837.28 บาทต่อไร่ และกรณีใช้แรงงานคน 11,199.15 บาทต่อไร่ แต่ถึงแม้ต้นทุนของแรงงานตัดอ้อยนั้นจะต่ำที่สุดแต่ก็ต้องแลกมาด้วยมลภาวะ ซึ่งการวิจัยนี้จะเจาะลึกไปถึงระบบกาจัดการการทำเกษตรกรรมให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในตอนนี้มากที่สุดอีกด้วย

อ่านวิจัยเพิ่มเติม : http://www.oae.go.th/more_news.php?cid=252
คอลัมน์ Golden Ranks : รวม 3 วิจัยเด่นๆ ของแดนสยาม คอลัมน์ Golden Ranks : รวม 3 วิจัยเด่นๆ ของแดนสยาม Reviewed by tonygooog on 21:04:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.