เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์
แบบสอบถาม : คิดว่าแผนรัฐวิสาหกิจโดยการแจกเงินฐานราก เพื่อให้เศรษฐกิจมีเงินหมุนเวียนคิดว่าช่วยเศรษฐกิจได้มากแค่ไหน
twitter จำนวน 9 ราย
56% ไม่ได้เลย
44% ได้ระดับหนึ่ง
0% ได้ดี
0% ได้อย่างมาก
หลังจากอดีตนายก อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
เคยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “เซ็คช่วยชาติ” มูลค่า
2,000 บาท
เป็นจำนวน 9.7 ล้านราย
ในช่วงปี 2552 เพื่อตอบโต้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นที่เกิดการหดตัวอย่างรุนแรง มีผลมาจากปรากฏการณ์วิกฤตการเงินโลก
ส่งผลให้ประชาชนไม่กล้าบริโภค เอกชนไม่กล้าลงทุน มาตรการ เซ็คช่วยชาติ ของพรรคประชาธิปัตย์
คือการกระตุ้นพฤติกรรมให้เกิดการใช้จ่ายกันมากขึ้นซึ่งจะโยงไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้ายที่สุด
ทว่าในวงวิชาการกลับมาความเห็นที่แตกไปอยู่สองทางด้วยกัน นายสมชัย
จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(ทีดีอาร์ไอ) ได้ชี้ให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวมีผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ดังนี้
เห็นด้วย
ควรเอาเงินใส่มือประชาชนที่อยู่ในฐานะยากจนมากๆ
จะดีกว่า เพราะจะเอาเงินออกมาใช้จริง
ไม่เห็นด้วย
ประชาชนจะเอาเงินนั้นออกมาใช้จ่ายจริงหรือ
และเกรงว่าไม่ก่อให้เกิดการจ้างงาน และนี้ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือคนจนที่อย่างแท้จริง
เพราะว่าคนที่สามารถประกันตนได้แสดงว่าต้องมีรายได้
ส่วนคนที่จนที่สุดเป็นคนที่อยู่นอกระบบประกันตน
(เช็คช่วยชาติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ)
แม้มาตรการช่วยเหลือในครั้งนั้น จะไม่ได้การันตีการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
และยังอยู่ในข้อครหาว่าเป็นหลักคิดของประชานิยม แต่จากวันนั้นผ่านมา 4 ปี
รัฐบาลทหารในปัจจุบันก็ได้มีการเดินหน้ามาตรการที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่าง “สวัสดิการแห่งรัฐ” ออกมา
โดยจะมีสองกลุ่มที่จะจำนวนเงินที่แตกต่างกัน ผู้มีรายได้ไม่เกิน
30,000 บาทต่อปี จะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีคนละ 3,000 บาท
ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จะได้ 1,500 บาท แน่นอนว่า ด้วยหลักการดำเนินมาตรการที่คล้ายกับ “เช็คช่วยซาติ”
จนเหมือนแฝดคนละฝาขนาดนี้
ทำให้ใครหลายฝ่ายเริ่มตั้งแง่กับแนวคิดของรัฐบาลทหารอีกครั้ง
นายพิชัย
นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า
ตนเองไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดแจกเงินของรัฐบาลทหารเท่าไหร่นัก เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแต่อย่างและจะมีสภาพลงเอยเหมือนเซ็คช่วยชาติที่หลังจากมีการแจกเช็คไปแล้ว
3 เดือนถัดมาเศรษฐกิจก็ติดลบ -4.9% และ ถัดมาอีก 3 เดือนเศรษฐกิจก็ยังติดลบ - 2.8%
ซึ่งเป็นการติดลบ 6 เดือนติดกันหลังจากแจกเช็คช่วยชาติ
ซึ่งนั้นบ่งชี้ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจล้มเหลว ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกลับมองไปที่ตัวแปรหลักที่สร้างแรงกระเทือนให้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ซบเซาแม้มีการกระตุ้นจากรัฐบาล
ปชป. เพราะจากวิกฤตการเงินโลกที่ยังคงวิกฤตอย่างต่อเนื่องในช่วงขณะนั้น
Bansorn ยังพบอีกว่าคนส่วนใหญ่มองมองมาตรการแจกเงินช่วยคนจนนั้นไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด
ซึ่งไม่แปลกที่ส่วนมากจะมองเช่นนั้น เนื่องจากหลังจากมีการเดินหน้าแจกเงินคนจน
เงินกลับไม่ได้อยู่ในมือของคนจนเพียงอย่างเดียว เพราะคำกำกับนิยาม “คนจน”
ยังนิยามกว้างเกินไป อาทิ สวัสดิการแห่งรัฐจะมอบเงิน1,500
บาท ให้กับผู้มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ที่มีอยู่ 8.32
ล้านรายทั้งประเทศ นั้นหมายความว่าคนกลุ่มนี้หากมีรายได้ 50,000
บาท (ไม่เกิน 1แสนบาท) จะสามารถได้เงินจากรัฐ 1,500
บาท ทันที่ ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือว่า “จนไม่จริง” มีจำนวน
3.9 ล้านราย ก็ไม่ได้ทำผิดอะไรที่จะไปรับเงิน
เนื่องจากมาตรการดังกล่าวไม่ได้สร้างเงื่อนไขให้กับคนกลุ่มนี้
การเมืองกรุงเทพธุรกิจได้ตั้งข้อสังเกตว่า
ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 ที่มีสิทธิจะได้รับเงิน
3,000 บาท
มีจำนวนคนทั้งหมดเพียง 4.42
ล้านรายเท่านั้น ซึ่งหากมีการจ่าย 3,000
ให้กับคนกลุ่มนี้ ก็ใช้งบประมาณเพียง 13,000 ล้านบาท ขณะที่งบที่เหลือกว่า 5,800 ล้านบาท
กลับไปแจกให้กับกลุ่ม “กลุ่มคนไม่จริง”
แทน ทำให้ประเมินได้ว่าการใช้เงินจากรัฐในครั้งนี้ไม่ได้ประโยชน์ตามเป้าหมายที่รัฐบาลคาดหวังไว้
ซึ่งสอดรับกับความเห็นของ Bansorn
โพล ได้สอบถามความเห็นของสังคม Twitter
จำนวน 9 ราย ประเด็นแผนรัฐวิสาหกิจโดยการแจกเงินฐานรากจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ซึ่งพบว่า
กว่า 56%
มองว่าไม่มีทางเลยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ มีเพียง 44%
เท่านั้นที่คิดแผนแจกเงินของรัฐบาลจะช่วยได้แต่ก็แค่ในระดับหนึ่งเท่านั้น
คงไม่แปลกอะไรที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นผลประโยชน์ของการแจกเงินในครั้งนี้
เพราะเงินใน 1 ใน 3 กลับไปตกอยู่กับคนมีอันจะกิน
เป็นการตอกย้ำถึงความหละหลวมของมาตรการเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นการแจกเงินให้กับประชาชนโดยหวังว่าผู้ที่ได้เงินส่วนนี้จะนำเงินไปอุปโภคบริโภคเพื่อให้เงินเกิดการหมุนเวียน
อย่างไรก็ตาม
ก็ไม่มีสามารถคาดเดาได้ว่าคนส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่
ถึงกระนั้น
รัฐบาลเองก็มีหัวการค้าอยู่ไม่น้อย
เพราะหลังจากปล่อยสวัสดิการแห่งรัฐกับการแจกเงินฟรีไปได้ซักพัก ทางภาครัฐก็ออกมาตรการเชิญชวนให้ประชาชนควักเงินกระเป๋าอย่าง
“ช็อปช่วยชาติ” ออกมา ด้วยการให้ซื้อของขวัญของฝากของถูกใจเพื่อนำไปหักลดภาษีได้ไม่เกิน
15,000 บาทต่อรายในระยะเวลา 18 วัน ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคมปี 2560 เป็นต้นไป
และทางรัฐบาลเชื่อว่าการกระตุ้นด้วยช็อปช่วยชาติจะทำให้เกิดการใช้จ่ายกว่า 2 หมื่นล้านบาท
ซึ่งหากขยายเศรษฐกิจให้โตขึ้นถึง 3.2 ก็ถือว่ามาตรการนี้ไม่เลวร้ายมากนัก
แม้ทางกระทรวงการคลังอาจพบภาวะขาดทุนไปบ้างก็ตาม แต่ในความเป็นจริง
นี้คือการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นและไม่ได้ส่งผลอะไรกับเศรษฐกิจในภาพรวมมากนัก
นอกจากนั้นนี้เงินส่วนหนึ่งก็ตกอยู่คนชั้นกลางในสังคม
นั้นหมายความว่าสำหรับเงินก้อนนี้ นับเป็นโบนัสส้มหล่นของพวกเขาเลย
กลับกันผู้มีรายได้น้อยเมื่อได้เงินส่วนนี้
แทนที่จะออมเงินกลับมีมาตรการมากระตุ้นใช้จ่ายหนักขึ้น โดยชี้ผลประโยชน์ของการลดภาษีและไม่คำนึงถึงผลกระทบหรือความจำเป็นของการใช้จ่ายนั้นๆ
เลย
Bansorn จึงกล่าวได้ว่าสวัสดิการแห่งรัฐในการแจกเงินไม่ได้ต่างอะไรไปจากประชานิยม
แม้จุดประสงค์จะมุ่งเพื่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่การดำเนินมาตรการเช่นนี้
ก็จะไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมเท่ากับค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลเสียไป และเมื่อพ้น 18
วันหลังช็อปช่วยชาติ สภาพการใช้จ่ายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจยังล่อแหลม หนักไปทางซบเซาด้วยซ้ำ
มีโอกาสที่ประชาชนจะตกอยู่ในสภาพหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น เพราะแผนลดภาษี 15,000 บาท
จะเป็นแรงผลักให้คนนั้นใช้จ่ายเต็มพิกัด เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์
นั้นเท่ากับดันให้คนได้รับเงินต้องใช้เงินเกินกว่าที่ได้รับ ไม่ว่าจะ 1,500 หรือ 3,000 ก็ตาม
(เสริมทรัพย์ให้ชุมชนฐานรากคือบรรทัดฐานของความรุ่งเรือง)
อ้างอิงโดย : http://www.thairath.co.th/content/800916
http://www.chaoprayanews.com/2009/03/24/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95/
ติดตามข่าวสารการอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/barnsorn/
https://twitter.com/tonygooogking
ติดตามข่าวสารการอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/barnsorn/
https://twitter.com/tonygooogking
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : แผนแจกเงินกระตุกเศรษฐกิจ ช่วยได้จริงหรือเพียงเล่ห์กลประชานิยม
Reviewed by tonygooog
on
11:10:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: