Add Me ON

About

คอลัมน์ ลับเฉพาะ : R&D ในไทยกำลังสูญพันธ์ นักวิจัยหายไปไหน?

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์

Key Data
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2557
-70นักวิจัยอยู่ในภาคอุดมศึกษาหรือภาครัฐ
-รายได้นักวิจัยอยู่ที่ 100,00035,000 บาท/เดือน
แหล่งข้อมูล : http://www.unigang.com/Article/20109
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 25 สิงหาคม 2560
                -สนับสนุนให้เกิดนักวิจัยมาแล้วกว่า 60,000 คน 
-สนับสนุนทุนวิจัย 20,000 โครงการ
แหล่งข้อมูล : https://www.dailynews.co.th/it/594259
ผลงานการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 6 กุมภาพันธ์ 2560
                - มีงานวิจัยที่ใช้ได้จริง เป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 20%
                - ใช้งานไม่ได้เลยหรือเป็นวิจัยขึ้นหิ้ง 80%
                - ประเทศเยอรมนี มีงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้ 70-80%
แหล่งข้อมูล : https://www.thairath.co.th/content/851946

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

                นอกจากแรงงานฝีมือแล้ว งานวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า งานวิจัยและพัฒนา คืออีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยต้องการมากที่สุดในการก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 เพราะการนำพาประเทศไปสู่จุดๆ นั้นได้ ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจในภาพรวม  ซึ่งนั้นต้องหมายถึงระบบการศึกษา คุณภาพนักศึกษาและอาจารย์ รวมไปถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมรวมถึงการวิจัยที่ต้องเข้มข้นมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เองจะเป็นตัวแปรสำคัญในการให้ประเทศไทย สร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้โดยสมบรูณ์ ทว่า แม้ทางรัฐบาลจะหวังให้ประเทศไทยให้เป็นดินแดนแห่งนวัตกรรมซักเพียงใด แต่ในความเป็นจริงก็ยังดูไม่ชัดเจน เท่าไหร่นัก ประกอบกับงานวิจัยส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่วิจัยขึ้นหิ้งมากกว่าวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งทำให้การผลของการวิจัยส่วนใหญ่จะเสียเวลาเปล่าหรือเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย  



สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับบทบาทสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่ง มีส่วนสัมพันธ์ต่อการการวิจัยอยู่ไม่น้อยและเคยสร้างผลงานวิจัยที่น่าสนใจเอาไว้มากมาย แต่เหมือนนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลับไม่ค่อยปลื้มเท่าไหร่นัก เนื่องจากผลงานเกินครึ่งของ สวทช. มีผลงานวิจัยที่ขึ้นหิ้ง ที่แม้แต่เอกชนและอุตสาหกรรมเองก็ไม่สามารถหยิบไปใช้ประโยชน์อะไรได้ ขณะที่งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ มีอยู่แค่ 20% เท่านั้น ขณะที่ประเทศเยอรมนี มีงานวิจัยเชิงคุณภาพและใช้ไดจริงถึง 70-80%



 แม้การวิจัยของ สวทช. จะไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ของงานวิจัยและอาจไม่สามารถเอามาวัดศักยภาพการวิจัยของทั้งประเทศได้ แต่สิ่งนี้ก็สะท้อนให้เห็นคือคุณภาพและศักยภาพจากหน่วยงานของภาครัฐ ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจให้ไปถึงระดับโลกด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่ามีประสิทธิภาพในการพัฒนางานวิจัยด้วยตนเองเป็นอย่างไร 

อย่างไรก็ตาม หากจะบอกว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่สนใจเรื่องของการวิจัยเชิงคุณภาพเลยก็ดูจะเป็นการใส่ร้ายเกินไป เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมาทางรัฐบาลได้พยายามยกระดับงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมอยู่มากมาย และในที่สุดภาครัฐก็ได้คลำมาเจอแสงสว่าง นั้นคือการดึงมหาวิยาลัยหรืออุดมศึกษาต่างๆ มาร่วมส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยต่างๆ ให้สามารถนำไปใช้ได้จริงในแง่ของการยกระดับอุตสาหกรรม เนื่องจากในสถาบันการศึกษามีเด็กเลือดใหม่ที่มีแนวคิดล้ำสมัย พร้อมที่จะพัฒนานวัตกรรมอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เก็บ กุญแจสู่ความสำเร็จในการสร้างงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นก็คือ นักวิจัย

หากเราอยากทานอาหาร ก็ต้องไปหาแม่ครัว และหากคุณต้องการงานวิจัย (ดีๆ) คุณก็หาไม่ได้จากใครนอกจากนักวิจัย  ทว่านักวิจัยมืออาชีพกว่า 70% ส่วนใหญ่ก็อยู่ในอุดมศึกษาหรือไม่ก็มหาวิทยาลัย ประกอบกับมหาวิทยาลัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการการวิจัยโดยตรง ความต้องการคนกลุ่มนี้มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักวิจัยเองก็เลือกที่จะอยู่ในสถาบันการศึกษามากกว่าไปทำงานให้กับเอกชน เพราะรายได้ไม่ต่างกันแต่งานเหนื่อยน้อยกว่ามาก


(ผลสำรวจของนักวิจัยในปี 2554-56 พบว่านักวิจัยที่อยู่ในภาคเอกชนมีสัดส่วนที่น้อยกว่าในภาครัฐ)

  ดร.เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่ นักวิจัยนโยบายอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้เคยให้ความเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวกับหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ว่า การที่นักวิจัยไปกระจุกตัวอยู่ในสถาบันศึกษาอยู่มากมายนั้น มาจากมุมมองในการดำเนินธุรกิจของเอกชนในอดีตที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับนักวิจัยหรืองานวิจัยเท่าไหร่นัก ถ้ามีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างนวัตกรรม ส่วนใหญ่จะใช้บริการจากต่างประเทศเป็นหลัก หรือซื้อเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างแดนมาเลย แต่ไม่มีการพัฒนางานวิจัยของตนเอง ยังไม่รวมถึงการมุ่งเน้นการผลิตแบบ OEM มากกว่า R&D นั้นจึงเป็นการปิดโอกาสให้นักวิจัยในการพัฒนาตนในองค์กรเอกชน ขณะที่การแข่งขันในมหาวิทยาลัยก็ไม่สูงเหมือนกับบริษัทแถมยังรายได้งาม นักวิจัยจึงเลือกที่จะอยู่ในสถาบันการศึกษามากกว่าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทเอกชน

ทว่า ปัจจุบันมุมมองของเอกชนต่องานวิจัยเปลี่ยนไป หลายบริษัทเริ่มเปิดใจและต้องการนักวิจัยมากขึ้น เอกชนบางแห่งตั้งศูนย์วิจัยในการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณว่าเส้นทางอนาคตของนักวิจัยเปิดกว้างขว้างยิ่งขึ้น ถ้าภาครัฐเองเข้ามาช่วยผลักดันเพิ่มเติม ดึงศักยภาพบุคลากรเหล่านี้ผ่านการสนับสนุนด้านทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องสนใจว่านักวิจัยจะอยู่ในหน่วยงานไหน แต่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเข้มข้น นักวิจัยเหล่านี้จะกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงคุณภาพได้อย่างดีเยี่ยมและการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมก็จะไม่ใช่ฝันอีกต่อไป เพราะเราไม่ได้สนใจว่านักวิจัยจะอยู่ที่ไหน แต่การผลักดันจากรัฐบาลจนเกิดนวัตกรรมโดยฝีมือคนไทยต่างหากที่เราต้องการ

และอีกนัยหนึ่ง สถาบันการศึกษาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยนักวิจัย ก็คือขุมทรัพย์ที่จะสร้างประเทศไทยยุค 4.0 นั้นเอง ซึ่งถือว่ารัฐเดินมาถูกทางแล้ว
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : R&D ในไทยกำลังสูญพันธ์ นักวิจัยหายไปไหน? คอลัมน์ ลับเฉพาะ : R&D ในไทยกำลังสูญพันธ์ นักวิจัยหายไปไหน? Reviewed by tonygooog on 01:58:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.