Add Me ON

About

คอลัมน์ Golden Ranks : 3 ข้อที่ควรรำลึกเสมอก่อนยื่นลดหย่อนภาษี

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์
          ผ่านไปไวเหมือนโกหก กับความสุขอุราในช่วงปีใหม่ที่ล่วงเลยมาแล้วถึง 4 เดือน นอกจากความสุขหรรษากับช่วงวันหยุดอันแสนยาวนาน เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ยังได้มีเฮรอบสอง กับนโยบายลดภาษีหรือที่เรียกกันติดหูว่า ลดหย่อนภาษี ใน ปี 58 กันอย่างแน่นอน  ทว่า เมื่อไปดูข้อมูลสถิติของสรรพากรกลับพบว่า เกินกว่าครึ่งยังไม่ดำเนินขอยื่นลดหย่อนภาษี อีกทั้งยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจในรายระเอียดการยื่นเอกสารต่างๆ ทำให้หลายคนชวดโอกาสในการได้ภาษีคืนอย่างน่าเสียดาย วันนี้ Trunk จึงขอเสนอแนะ 3 ข้อควรรำลึกเสมอก่อนยื่นลดหย่อนภาษี และหวัังว่าบทความนี้จะช่วยทุกคนให้ได้คืนภาษีเร็วๆ และได้จำนวนเงินที่ทุกคนพึงพอใจ


1.       ถ้าไม่มีค่าครองชีพ เตรียมทำ RMF
โดยปกติแล้วองค์กรต่างๆ จะมีการช่วยเหลือคุณด้วยการทำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ขึ้นมา โดยเป็นการนำเงินสะสมของลูกจ้างมารวมกับเงินสมทบของนายจ้าง ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2% แต่ไม่มากกว่า 15% จากจำนวนค่าจ้าง ถือเป็นการออมเงินและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับลูกจ้างหลังออกจากงาน แถมยังนำส่วนนี้ไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 10,000 บาทอีกด้วย ถึงกระนั้น สวัสดิการส่วนนี้กลับไม่ได้พบเจอบ่อยนักโดยเฉพาะองค์กรระดับเล็ก เพราะเป็นนโยบายที่ไม่ได้บังคับด้วยกฏหมาย บริษัทจึงไม่จำเป็นต้องมีมาตรการนี้ ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีของคุณหายไปด้วย วิธีแก้คือควรเดินเรื่องกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) โดยกองทุนนี้จะต้องมีการซื้อไม่เกิน 15% อีกทั้งยังสามารถยืดหยุ่นในการลงทุนได้ดีอีกด้วย

ไม่พอ กองทุนนี้ยังมีความพิเศษกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท ตรงที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 ทาง  กล่าวคือ สามารถนำเงินจากกองทุน RMF ไปยื่นลดหย่อนภาษีเหมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ และเมื่อมีผลกำไรจากการลงทุนสินทรัพย์ (Capital Gain) ก็จะได้การยกเว้นภาษีอีกด้วย ถือเป็นการลงทุนครั้งเดียวได้กำไรถึง 2 ต่อเลยทีเดียว

2. ติดตามเอกสาร ณ ที่จ่าย 50 ทวิ
(หน้าตาของเอกสาร 50ทวิฯ)

                     มีชื่อเต็มว่า หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิแหงประมวลราษฎากรโดยเอกสารนี้เป็นเหมือนใบแจ้งรายรับและการเสียภาษีของคุณ กล่าวคือ เป็นการแจกแจงรายระเอียดด้านรายได้ จำนวนภาษีที่หักไป รวมถึงจำนวนวงเงินที่หักให้กับกองทุนหรือประกันต่างๆ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ทางบริษัทส่วนใหญ่จะต้องมีตามข้อบังคับทางกฏหมาย ถึงกระนั้น การบริหารจัดการเอกสารนี้ก็ขึ้นอยู่แต่ละบริษัท เพราะบางบริษัทก็อาจให้ทางพนักงานเป็นผู้เดินเรื่องยื่นภาษีกับทางสรรพากรเอง ขณะที่บางบริษัทอาจทำธุรกรรมให้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งหากไม่มีการติดตามจากพนักงาน ก็อาจไม่ได้เอกสารในส่วนนี้ เกิดเป็นปัญหาด้านความล่าช้าในการคืนภาษี ดังนั้นพนักงานจึงควรร้องขอเอกสารนี้จากบริษัทอยู่เสมอ เพราะนอกจากเป็นใบเสร็จแสดงรายรับ-จ่าย ตลอดปีของคุณแล้ว ยังเป็นเอกสารสำคัญในการประกอบยื่นภาษีหรือขอลดหย่อนภาษีของคุณอีกด้วย

3. บุญช่วยลดภาษีได้

(ลักษณะใบอนุโมทนาบัตร)


                หากคุณเป็นคนทำบุญทำทานล่ะก็ จงยิ้มรอได้เลย เพราะการกุศลเหล่านี้ จะย้อนกลับมาช่วยคุณในรูปแบบของลดหย่อนภาษี โดยสามารถหักได้เท่าจำนวนที่บริจาคจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่ได้ ถึงกระนั้น ก็มีเงื่อนไขที่พึงระวังอยู่ 2 ข้อ ได้แก่
3.1. การบริจาคจะต้องอยู่ในรูปแบบของเงินเท่านั้น หากบริจาคเป็นทรัพย์สินจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
                3.2. องค์กรที่ช่วยเหลือจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของรัฐมนตรีกำหนดไว้ตามสถานสาธารณกุศลตามราชกิจจานุเบกษา

          หากต้องการบริจาคมูลนิธิหรือช่วยเหลือวัดต่างๆ พร้อมกับรักษาสิทธิในการลดหย่อนภาษี ควรคำนึงถึง 2 ข้อนี้เป็นสำคัญ เพราะมีหลายคนประสบปัญหาไม่สามารถขอคืนภาษีได้ เนื่องจากมูลนิธิที่บริจาคไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของสถานสาธารณกุศลหรือการบริจาคนั้นเป็นรูปแบบสิ่งของมิใช่เงิน ดังนั้นจึงควรตรวจสอบสถานที่ให้ดีเสียก่อน  รวมถึงสำรวจตัวเลขในใบอนุโมทนาบัตรให้ชัดเจน เนื่องจากมีมิจฉาชีพได้อุปโลกน์จำนวนเงินใบอนุโมทนาบัตรขึ้นมา เพื่อยื่นขอคืนภาษีในวงเงินที่สูงกว่าความเป็นจริง หากมีความผิดพลาดเรื่องของจำนวนเงิน อาจถูกตรวจเข้มจากสรรพากรตลอด 3 ปี

สามารถตรวจสอบสถานที่ที่ทางรัฐมนตรีดูแลอยู่ (http://www.rd.go.th/publish/2644.0.html)

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.rd.go.th/publish/2644.0.html

http://th.jobsdb.com

http://www.prosofthrmi.com/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=2085&ArticleID=7355

http://www.propertytoday.in.th/
คอลัมน์ Golden Ranks : 3 ข้อที่ควรรำลึกเสมอก่อนยื่นลดหย่อนภาษี คอลัมน์ Golden Ranks : 3 ข้อที่ควรรำลึกเสมอก่อนยื่นลดหย่อนภาษี Reviewed by tonygooog on 09:32:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.