เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์
Key Data
ฐานข้อมูล
TNS Connected Life ปี 2557
- กลุ่มผู้ใช้อายุ 25-34 ปี เป็น Active User หรือ ผู้ที่ชอบการชมวิดีโอออนไลน์มากที่สุด
Google ประเทศไทย ปี 2559
-คนไทยรับชม YouTuber มากที่สุดติด 1 ใน 10 ของโลก
-คนต่างจังหวัดเสพยูทูป เฉลี่ย 39 นาทีต่อครั้ง คนเมืองเสพยูทูปเฉลี่ย 33 นาทีต่อครั้ง
-คนต่างจังหวัดเสพยูทูป เฉลี่ย 39 นาทีต่อครั้ง คนเมืองเสพยูทูปเฉลี่ย 33 นาทีต่อครั้ง
PETONG Channel 9 มกราคม 2560
-ทำยอดคนดูได้ 1,270,482 รับรายได้ 1,314 บาท
-ทำยอดคนดูได้ 1,270,482 รับรายได้ 1,314 บาท
YouTube Summit 2017 + positioningmag ปี 2559
-มีYouTube Creators 100,000 ราย
-เป็น Gold Button 51 ช่อง
- เป็น Silver
Button 600 ช่อง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“อยากมีรายได้พร้อมกับได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก”
คงเป็นฝันของใครหลายๆ
ที่อยากได้ทำในสิ่งที่ตนเองหลงใหลแถมยังมีเงินเข้ากระเป๋า ทว่า ในความเป็นจริง เรื่องที่เหมือนฝันเช่นนี้ยากนักที่จะได้อย่างใจหวัง
เพราะบางครั้งอาจได้งานที่ชอบแต่เงินไม่ดีพอหรือบางครั้งอาจได้เงินดีแต่งานไม่ถูกใจ
เรื่องเหล่านี้คนทำงานเข้าใจดี จนกระทั้งเว็บไซต์ YouTube ถูกสร้างขึ้นและมาถึงยุคที่เว็บไซต์นี้ได้รับความนิยมอย่างสุดขีด
ฝันของใครหลายคนที่จะทำสิ่งที่ชอบพร้อมรับทรัพย์ไปด้วยก็กลายเป็นจริงไปในบัดดล ทำให้บางคนถึงขั้นลาออกจากงานประจำและเลือกที่จะกระโจนเข้าสู่เวทีของ YouTube
อย่างจริงจัง
เพื่อมาเสนอแนวคิดหรือเรื่องราวที่น่าสนใจให้กลายเป็นที่จดจำของคนในสังคม ก่อนนำไปสู่เป้าหมายข้อถัดไป
คือการได้รับรายได้จาก YouTube ขึ้นหลักหมื่นหลักแสน
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงที่หลายคนไม่รู้หรือแม้แต่
YouTube เองก็ไม่อยากให้รู้ นั้นคือการสร้างรายได้บนเนื้อหาวีดีโอ นอกจากจะต้องใช้สมองและการทุ่มทุกแรงกายแรงใจอย่างมากมายแล้ว
ผลกำไรที่หวังว่าจะงอกเงยสวยงามกลับไม่ได้มากมายอย่างที่ใครคาดหวัง จนบางครั้งมีลักษณะเข้าสุภาษิต “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” ไม่มีผิด
PETONG Channel ช่อง
YouTuber ที่นำเสนอการรีวิวเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ได้แสดงให้เห็นถึงรายได้จากการทำยูทูป โดยได้นำวีดีโอหนึ่งที่ตนเองเคยทำไว้ ซึ่งคนเข้าชมกว่า
1,270,482
ครั้ง เพื่อค้นหารายได้จากวีดีโอดังกล่าว ผลปรากฏว่าเงินที่ PETONG Channel
ได้รับ
เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 37 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1,314 บาท
โดยตัวเลขดังกล่าวไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจำนวนรายได้จะเท่ากันทุกคลิป
เพราะในจุดนี้ขึ้นอยู่กับข้อสัญญาระหว่างYouTuber กับ YouTube
หรือข้อตกลงเจ้าของโฆษณาว่าจะให้คุณเท่าไหร่
จึงอาจสรุปได้ว่าหากคลิปสร้างคนดูคลิปถึงหลักล้าน คุณมีโอกาสรับรายได้จาก YouTube
เฉลี่ย
1,000 บาท
(PETONG Channel)
ซึ่งในมุมหนึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูง
เมื่อเทียบกับ YouTuber อีกหลายๆ คนที่อาจทำคลิปมาเป็นร้อยคลิป แต่มีรายได้ไม่ถึง 100 บาท
เนื่องจากจำนวนผู้ชมไม่สูงพอ
แต่ในอีกมุมหนึ่งรายได้ส่วนนี้ก็แลกมาด้วยต้นทุนที่สูงไม่ใช่น้อย
ในการใช้พลังงานของผู้สร้าง ทั้งไอเดีย เวลา แรงกาย อุปกรณ์การถ่าย ค่าเดินทาง ฯลฯ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวีดีโอหนึ่งชิ้น
โดยที่คุณไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าวีดีโอตัวนั้นจะถูกใจผู้ชมขนาดที่คนกดไลค์กดแชร์จนได้คนดูเป็นล้านหรือไม่
และนั้นก็ยังไม่สำคัญเท่าแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
หรือโฆษณาจะสนใจมาลงโฆษณากับคุณหรือไม่
ใช่แล้วครับนอกจากจะต้องสร้างเนื้อหาดีๆ
มีคุณภาพเป็นที่ถูกใจคนเข้ามาดูแล้ว คุณยังต้องประเมินถึงความเป็นไปได้ที่คลิปวีดีโอของคุณจะเป็นที่ต้องตาต้องใจหรือมีคนเข้าชมมากเพียงพอที่โฆษณาต่างๆ
จะสนใจมาลงโฆษณาในคลิปของคุณหรือไม่ การที่เหล่า advertise
พุ่งเป้าไปที่
YouTuber ที่มีผู้ติดตาม (subscribe) มากๆ หรือคลิปที่มีคนดูเยอะๆ
เพราะจะเป็นการสร้างโอกาสขึ้นโฆษณาให้เห็นมากขึ้นนั้นเอง แต่เปอร์เซ็นในการขึ้นโฆษณาก็มีจำนวนน้อย นั้นเป็นการทลายข้อสงสัยว่าทำไม YouTuber บางคนทำคลิปออกมา มีคนดูเยอะ แต่รายได้กับไม่ได้สูงมากนัก เพราะบางครั้งโฆษณาไม่ได้ขึ้นมากพอนั้นเอง
My
Mate Nate ได้เคยอธิบายที่มาของรายได้จาก YouTube ผ่านคลิป “เฉลยความลับ!
คนไทยทำยูทูปได้เงินเท่าไร?!!” โดยชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีการทำคลิปวีดีโอคนดูเป็นล้าน
แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะได้รายได้สูงตามผู้ชมคลิป เพราะ YouTube
จะประเมินรายได้จากโฆษณาที่ขึ้นให้เห็นบนคลิปเท่านั้น ซึ่งโอกาสที่โฆษณาจะขึ้นให้เห็นบนคลิปเฉลี่ยเพียง
5 - 10% ต่อครั้ง และจำนวนโฆษณาที่ขึ้นบนคลิปนั้นเองคือโอกาสทำรายได้ของ YouTuber ที่แท้จริง
มาถึงตรงนี้หลายคนคิดว่าถึงเวลารับทรัพย์แล้วใช่ไหมครับ
แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย หลังมีการลงโฆษณา ทาง YouTube จะคำนวณสัดส่วนรายได้สุทธิที่
YouTuber ควรได้รับ ซึ่งทาง YouTuber ไม่มีทางได้เงินทั้งหมด 100% จากเงินค่าโฆษณาทั้งหมด เพราะมีค่าใช้จ่ายบางอย่างภายใต้ข้อสัญญากับ YouTube ที่ต้องชำระตามข้อตกลง
(ตารางแสดงผลรายได้จากคลิปวีดีโอ)
“ค่าธรรมเนียม”
หรือ
“ค่าผ่านทาง” คือสิ่งที่ YouTuber จะต้องชำระกับ
YouTube โดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการลงโฆษณา เช่น มีผู้ลงโฆษณาในคลิปคุณ 1,000,000 บาท
คุณก็จะถูกหักค่าพื้นที่บน YouTube กว่า 50% รวมแบรนด์ที่ทำการโฆษณากับคุณก็จะหักค่าค้ำประกันการกดโฆษณาอีกครึ่งหนึ่งจาก
50% ที่เหลือ (กล่าวคือ ถ้าผู้เข้ามาชมคลิปเห็นโฆษณาแต่ไม่ได้กดเข้าชมโฆษณามากพอ
YouTuber ก็จะไม่ได้เงินก้อนนี้จากผู้ลงโฆษณาที่หักไป)
นี้ยังไม่รวมค่าภาษีต่างๆ และค่าว่าจ้างในกรณีที่ YouTuber จ้างบริษัทต่างๆ
ในการทำการตลาดออนไลน์ให้ เมื่อคำนวณรายได้ที่ทาง YouTuber ที่จะได้รับจริงๆ
มีเพียง 5 – 10 % เท่านั้น ทั้งนี้นี้คือการประมาณการณ์จากอัตราการลงโฆษณาที่สูงมากเท่านั้น
บางครั้งคุณอาจได้รับค่าโฆษณาเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 หรือ 1,000 บาท
และเมื่อหักลบค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมด คุณอาจได้รับรายได้ต่ำกว่า 4 - 1% ก็เป็นได้
และถ้าผู้เช้ามาชมคลิปน้อย โอกาสที่โฆษณาจะขึ้นให้เห็นก็น้อยตามไปด้วย
ส่งผลให้โอกาสได้รายได้จาก YouTube ก็น้อยลงไปกว่า 1% ก็เป็นไปได้
ฟังถึงจุดนี้ อาจทำใครบางอาจรู้สึกหดหู่และไม่อยากจะทำ
YouTube
อีกต่อไป ถึงกระนั้น ภายใต้โอกาสที่จะได้รายได้จะเป็นไปได้ต่ำ
แต่หาก
YouTuber มีความพยายามและขยันหมั่นเพียรในการสร้างผลงานดีๆ
มีคุณภาพออกมากพอ โอกาสที่คุณจะได้รายได้มากกว่า 5% ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
เนื่องจาก YouTuber หรือ Creators
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหารายได้โดยอาศัย channel อยู่เพียงช่องเดียว
เสมอไป คุณสามารถสร้างช่องอื่นๆ เพื่อรองรับเนื้อหาที่แตกต่างออกไปได้
(เหมือนบางคนที่มีโทรศัพท์มากกว่าหนึ่งเครื่องเพื่อไว้ใช้คุยงานหรือคุยเรื่องส่วนตัว) ซึ่งช่องดังกล่าวจะทำให้อัตลักษณ์ทั้ง
เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ มีความชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งจะทำให้ผู้ลงโฆษณาเห็นคุณได้ชัดมากขึ้นนั้นเอง และยิ่งช่องคุณมีคาแรคเตอร์โดดเด่นมากเท่าไหร่
โอกาสที่โฆษณาจะมาลงกับคุณก็มีมากขึ้นไปด้วย
บางครั้งอาจถึงขั้นทำโฆษณาถึงคุณโดยตรง เช่น ให้คุณใช้ผลิตภัณฑ์ของเขาระหว่างถ่ายวีดีโอ
ซึ่งนั้นจะทำให้เราได้รายได้จากโฆษณาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่าน “ค่าผ่านทาง”
จาก YouTube
ในการหัก 50% รวมไปถึงช่องเหล่านี้นอกจากสร้างคลิปแล้ว
ยังสามารถขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของเราได้อีกด้วย
(Silver Button)
สิ่งต่อไปที่ควรทำที่คาดว่าใครหลายคนต้องรู้อยู่แล้ว
คือการสร้างผู้ติดตาม (subscribe) ในระดับ Silver
Button หรือ ช่องที่มีผู้ติดตาม 100,000 รายขึ้นไป เพราะถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นักโฆษณาจะพิจารณาในการลงโฆษณา
โดยปัจจุบันมีช่องที่อยู่ในระดับ Silver Button ถึง 600 ช่อง
สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในเว็บไซต์ YouTube ที่มีมากขึ้น และนั้นจะเป็นโอกาสสูงที่คุณจะสามารถสร้างคนติดตามหลักแสนได้โดยง่าย
ทว่า การได้มาซึ่งผู้ติดตามต้องได้มาจากเนื้อหาคุณภาพจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
เนื่องจากมีคนบางกลุ่มทำการไปคอมเม้นช่องต่างๆ เพื่อให้ให้คนมาติดตามช่องของตนเองซึ่งถือเป็นวิธีที่ผิดเพราะการกระทำนี้อาจทำให้เกิดยอดคนดูได้จำนวนหนึ่ง
แต่ถ้าหากเนื้อหาไม่ดีพอที่จะดึงคนดูเหล่านั้นได้ ช่องนั้นก็ต้องตายไปอยู่ดี
สำหรับใครที่อยากเป็น YouTuber
แต่ยังไม่มีแรงบันดาลใจหรือไอเดียที่จะทำเนื้อหาออกมา บรรสรณ์ขอแนะนำ youtube
creator academy ที่เป็นแหล่งรวมบทเรียนขั้นพื้นฐานในการสร้างช่องที่มีประสิทธิภาพและการเพิ่มผู้ติดตามได้มีศักยภาพ
รวมไปขั้นตอนที่มารายได้จาก YouTube และที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นคือแบบทดสอบที่สอดแทรกอยู่ในบทเรียน
พร้อมเฉลย เพราะการทำแบบทดสอบจะทำให้คุณมีความเข้าใจสอดรับกับทิศทางของการสร้างผลงานให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ชำแหละรายได้ YouTuber วิถีขี่ช้างจับตั๊กแตน
Reviewed by tonygooog
on
08:04:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: