เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์
Key Data
ข้อมูลจาก
: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 1 มกราคม 2559
-อุณหภูมิปกติในร่ายงกายมนุษย์ : 37 องศาเซลเซียส
-ค่าความร้อนที่เป็นอันตรายสูงสุดต่อมนุษย์ : 54 องศาเซลเซียส
ประเทศไทยจะมีโอกาสเสียชีวิตจากความร้อนเพิ่มขึ้น
-ปี พ.ศ.2593 จะมีผู้เสียชีวิตจากความร้อน
6,000 ราย
-ปี พ.ศ.2623
จะมีผู้เสียชีวิตจากความร้อน 14,000 ราย
ข้อมูลจาก :
ศูนย์ภูมิอากาศ
สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 4 พฤษภาคม 2559
-อุณหภูมิสูงที่สุดของประเทศไทย วันที่
28 เมษายน ปี 2559 มี อุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส ล้มสถิติเก่า วันที่ 27 เมษายน
2503 ที่มีอุณหภูมิ 44.5 องศาเซลเซียส
ข้อมูลจาก : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สผ.) ปี 2559
-อุณหภูมิประเทศไทย 40 ปี
ข้างหน้ามีโอกาสเพิ่มร้อนเพิ่มขึ้น 0.4-2.6 องศาเซลเซียส
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“คนเราทนร้อนได้เต็มที่เท่าไหร่”
นับเป็นข้อสงสัยของใครหลายๆ คน ท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัดราวกับอยู่ในไมโครเวฟเช่นนี้
เพราะขนาดอากาศร้อนเพียง 35 องศาเซลเซียส ร่างกายก็ระอุเกินจะทนแล้ว ทว่า ทางกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข เคยประเมินความร้อนที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์พบว่า
ถ้าอากาศมีความร้อน 34 องศาฯ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ 100%
จะทำให้เกิดอุณหภูมิอากาศสูงถึง 56 องศาฯ ซึ่งเป็นระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดอย่างแน่นอน
แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดนั้นค่อนข้างต่ำ
เพราะการเกิดภาวะดังกล่าวจะต้องมีความผันผวนด้านภูมิอากาศขั้นรุนแรง
ขณะที่ประเทศไทยอุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้อยู่ที่ 44.6 องศาเซลเซียส
ซึ่งเป็นระดับอันตราย แต่ก็ยังไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจมากกว่า “คนเราทนร้อนได้เต็มที่เท่าไร่” คือความร้อนของอากาศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆ
ปี และไม่มีทีท่าจะลดลงแต่อย่างใด ซึ่งหากสภาพยังเป็นเช่นนี้ต่อไป
มีโอกาสที่อากาศจะร้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะทนได้แน่นอน
และมนุษย์จะต้องเสียชีวิตจากภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สผ.) เคยวิเคราะห์เอาในปี 2559 ถึงภาวะอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทุกปีว่า อีก 40
ปีข้างหน้า สภาพอากาศจะเพิ่มขึ้น 0.4-2.6 องศาเซลเซียส โดยมีผลมาจากโลกร้อนหรือปัญหาสภาวะก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งหากพูดในทางการแพทย์ โลกคงเป็น
“ผู้ป่วย” ที่โดนวินิจฉัยว่ามีอาการทรงกับทรุด
ไม่มีวันหายป่วยอย่างแน่นอนและในไม่ช้าโลกจะต้องเสียชีวิตในที่สุดและนั้นหมายถึงมนุษย์อย่างพวกเราด้วย
จากปัจจัยดังกล่าว มนุษย์อย่างเราๆ
หากไม่ช่วยกันปลูกป่าหรือลดการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะเรือนกระจก
คงมีแต่ต้องดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่หนักข้อขึ้นทุกวัน
ด้วยการกินน้ำสะอาดบ่อยๆ โดยไม่ต้องรอให้ร่างกายบอกอาการกระหายน้ำ และควรลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์
ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงในช่วงอากาศร้อนจัด เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
และอีกความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามคือ “การออกกำลังกาย”
(นายจอร์แดน โดนัลด์)
วัน 26 มีนาคม 2560 นายจอร์แดน โดนัลด์ อายุ 21 ปี
ชาวสก๊อตแลนด์ นักมวยมืออาชีพได้เสียชีวิตลงระหว่างออกกำลังรีดน้ำหนักก่อนขึ้นชกมวย
โดยสาเหตุเสียชีวิตมาจากการออกกำลังกายอย่างหนักท่ามกลางอากาศร้อนจัด บวกกับใส่ชุดหนาสำหรับรีดน้ำหนัก
ทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกิดอาการช็อกจนเสียชีวิต ดังนั้นควรเลี่ยงออกกำลังกายหนักกลางแจ้งโดยเฉพาะช่วงแดดร้อนจัด
และควรพกน้ำดื่มติดตัวอยู่ตลอดเวลา
ทฤษฎี : อากาศร้อน ทำให้คนไม่สามารถใช้ชีวิตในช่วงเวลากลางวันได้
แม้ฟังดูเป็นไปได้ยาก
แต่จากความร้อนที่พุ่งสูงขึ้นได้ส่งผลต่อพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์ไม่มากก็น้อย
และในระยะยาวอาจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างถาวรได้
เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ไม่ได้อยู่กับธรรมชาติ 100%
โดยส่วนใหญ่จะหันไปพึ่งอากาศประดิษฐ์อย่างเครื่องปรับอากาศกันมากขึ้น
ซึ่งสิ่งนี้จะค่อยๆ สร้างผลกระทบต่อการดำรงชีวิต สังเกตได้ว่า คนเราจะอยู่ในกลางแดดได้ไม่นาน
หรือถ้าอยู่นานเป็นระยะเวลาหนึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ขณะที่ช่วงเวลากลางวันหรือช่วงแดดร้อนจัด
จะเริ่มเห็นคนพกร่มกันแดดกันมากขึ้นไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ชาย
หรือบางครั้งก็สัมผัสได้ถึงอาการเพลียแดดเมื่อเดินอยู่กลางแดดที่ร้อนจัดได้บ่อยขึ้น
จึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะไม่สามารถดำเนินชีวิตในช่วงกลางวันได้เหมือนปกติ
ผศ.ดร.กัมปนาท ปิยะธำรงชัย ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พูดกับ
คมชัดลึกถึงโครงงการ “ศึกษาเพื่อวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแห่งชาติ”
เพื่อเตรียมกลยุทธ์ในการดำรงชีวิตท่ามกลางที่อากาศร้อนขึ้นทุกปี
โดยชี้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยปี 2558 มีช่วงที่ร้อนจัดอยู่บริเวณภาคกลาง
ผ่านไป 20 ปี พ.ศ.2578 ส่วนร้อนจัดจะขยายเพิ่มขึ้นในภาคเหนือตอนล่าง
และถ้าไม่มีปัจจัยอะไรเปลี่ยนแปลง อีก 40 ปี หรือ 2598 อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนสูงสุดเกิน
28.7 องศาฯ เกือบทั่วภูมิภาค โดย กัมปนาท วิเคราะห์ว่าหากอนาคตอุณหภูมิอากาศร้อนขึ้นถึง
2-4 องศาฯ อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงานเปลี่ยนไป อาทิ
การพักกลางวันอาจยาวขึ้นจากหนึ่งชั่วโมงเป็น 2 ชั่วโมง
เพื่อเลี่ยงให้พนักงานไม่ทำงานในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า
พิพิธภัณฑ์ ที่เคยเปิดตอนกลางวันถึงเย็น อาจจะต้องเปลี่ยนมาเปิดตอนเย็นถึงดึก
เพราะนักท่องเที่ยวไม่เที่ยวช่วงกลางวันอีกต่อไป
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : โลกร้อนขั้นวิกฤต คนใช้ชีวิตเวลากลางวันไม่ได้
Reviewed by tonygooog
on
20:34:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: