เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์
Key Data
Key Data
Bansorn โพล ประชาชนทั่วไป : 25 หน่วยตัวอย่าง
facebook twitter
56.8% นักเรียนไม่ไฝ่เรียนรู้ 38%
5 % อาจารย์ไม่เก่งพอ 13%
11.7% กระทรวงศึกษาธิการไม่ทำงาน 0%
23.5% อื่นๆ 49%
(ปล. อื่นๆ ได้แก่สภาพแวดล้อมไม่อำนวยต่อการพัฒนาภาษา หลักสอนผิดวิธีและรัฐมุ่งให้สอบผ่านอย่างเดียว)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับปัญหาด้านทักษะอังกฤษนับเป็นปัญหาที่อยู่คู่เยาวชนไทยมาอย่างช้านาน
หลายคนมักพุ่งเป้าไปที่ระบบศึกษาของประเทศไทย โดยจากผลสำรวจของ Bansorn โพล พบว่า สังคมจาก Facebook กว่า 56.8% มองว่านักเรียนโดยส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เท่า ขณะที่ twitter ให้ควมเห็นถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวยให้เกิดการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษถึง รวมไปถึงวัฒนธรรมที่ย้อนแย้งกับการเรียนภาษา 49% ซึ่งจ่ากปัญหาดังกล่าวคงไม่อาจโทษผู้ใดผู้หนึ่งได้โดยตรง แต่หนึ่งองค์คงปฎิเสธความรับผิดชอบได้นั้นคือกระทรวงศึกษาธิการ เพราะนับเป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายในการบริหารจัดการและสร้างหลักสูตรการศึกษาให้มีคุณภาพมาให้กับเยาวชน
แต่จนบัดนี้ทางองค์กรดูเหมือนยังไม่ได้ทำความเข้าใจถึงการเรียนรู้ของเยาวชนเท่าไหร่นัก
จนมาบัดนี้ ในยุคที่การศึกษาและระบบการสื่อสารรวดเร็วถึงใจ ทำให้มีผู้ใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการถ่ายทอดความรู้ภาษาอังกฤษให้กับคนไทยมากมาย
แต่ท้ายที่สุดทักษะของภาษาอังกฤษก็ยังไม่ได้ดีขึ้นแต่ก่อน หรือท้ายที่สุดแล้วข้อครหาของทักษะภาอังกฤษคนไทยบกพร่อง
มาจากสิ่งอื่นมิใช่ระบบการศึกษา
ในปี 2556 สถาบันการศึกษาในการสร้างทักษะด้านภาษาผ่านรูปแบบประสบการณ์
หรือ EF
Education First ได้ทำแบบสอบแบบสำรวจ
ในช่วงปี 2553 ถึง 2555 ประชากรกว่า 1.7 ล้านราย ทั่วโลกกว่า 54 ประเทศ พบว่า
ประเทศไทยมีทักษะด้านภาษาอังกฤษอยู่ในอันดับที่ 53
ขณะที่เปรียบเทียบในประเทศในเขตเอเชียด้วยกัน ก็อยู่ในระดับ Very low proficiency (ระดับต่ำมาก) และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียที่ถูกจัดในระดับนี้ ต่างจากเวียดนามที่ภาพของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมและโครงสร้างพื้นฐานอาจยังไม่ดีเท่าประเทศไทย
แต่กลับสามารถทำแบบสอบถามภาษาอังกฤษได้ดีกว่าและทำให้ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 31
จากข้อมูลดังกล่าวต่อนช้างย้อนแย้งกับเส้นทางรัฐบาลกำลังจะเดินไป
ในการยกประเทศไทยเป็นประเทศยุค 4.0 ที่มีการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และต้องการสานสัมพันธ์กับนานาชาติๆ ในการเป็นคู่ค้าทางธุรกิจ เนื่องจากคุณภาพประชาชนภายในประเทศด้านทักษะภาษา
กลับเป็นจุดบอดสำคัญที่ทำให้ขาดโอกาสสานสัมพันธ์กับชาวต่างชาติไปโดยปริยาย
แม้ในปัจจุบันคนจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวมากขึ้น
แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรมเสียที
(อาจารย์ คริสโตเฟอร์ ไรท์)
อาจารย์ คริสโตเฟอร์ ไรท์ เจ้าของโรงเรียน Chris English School เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ “ถามตรงๆ กับจอมขวัญ”
ถึงปมปัญหาของการศึกษาด้านภาษาอังกฤษของไทยที่ย่ำอยู่กับที่ว่า จริงๆ
บ่อเกิดของปัญหามันมาจากรากเหง้าของระบบการศึกษา กล่าวคือ
ระบบการศึกษาไทยยังคงมุ่งเน้นท่องติวเพื่อให้สามารถทำข้อสอบได้
นั้นคือเป้าหมายสูงสุดของระบบการศึกษาไทยที่กำลังเดินอยู่ในขณะนี้ เช่นเดียวกับ
คณาธิป สุนทรรักษ์ ติวเตอร์และเจ้าของโรงเรียนสอนภาษา Angkriz ที่มองว่าการสอนของระบบการศึกษาไทยผิดหลัก เนื่องจากระบบโดยการจดจำที่มีศักยภาพจะต้องเริ่มจากฟัง
พูด อ่าน เขียน แต่ระบบการศึกษาไทยกลับให้ เขียน อ่าน พูด ฟัง ซึ่งทำให้ระบบทำความเข้าใจเกิดความสับสนและไม่เข้าใจการสื่อสารที่ถูกต้องอย่างแท้จริง
อีกทั้งระบบมุ่งเน้นไปที่หลักแกรมม่า มากกว่าฟังและพูด ส่งผลให้เด็กเข้าใจระบบแต่ไม่สามารถสื่อสารที่ดีได้
(คณาธิป สุนทรรักษ์)
จากการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตศรีราชา ในช่วง ตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2551 ผลการสำรวจด้านความรู้สึกเกี่ยวกับการพูดภาษาอังกฤษพบว่า
ประชากรที่รู้สึกชอบและประชากรที่ไม่ชอบการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ มีอย่างละร้อยละ
50
ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบของผู้เรียนเป็นเรื่องเจตคติในตัวผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาหรือต่อต้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
และผู้ที่สร้างอิทธิพลต่อเจตคติที่ดีหรือไม่ให้กับนักเรียน นั้นคืออาจารย์ผู้สอน
ยิ่งอาจารย์มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เด็กถึงได้และสนุกน่าจดจำ มีทักษะการพูดที่ดี
สำเนียงภาษาชัดเจน มีความมั่นใจในการพูดและดูใจดีพร้อมให้กำลังใจ จะยิ่งทำให้เด็กนักเรียนเกิดความกล้าในการพูดภาษอังกฤษมากขึ้น
เนื่องจากการพัฒนาด้านภาษาที่สองได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดต้องไม่มีความกลัวมาขวางกั้น
ทำให้นักเรียนรับรู้ถึงภาษาอย่างเป็นธรรมชาติมิใช้หลักวิชาการที่อึดอัดและกดดัน
อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาเรื่องระบบการศึกษาจะเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากแล้ว
แต่ยังมีอีกปมปัญหาหนึ่งที่แก้ได้ยากไม่แพ้กัน นั้นคือทัศนะคติสังคมไทยต่อภาษาอังกฤษที่เป็นเหมือนกำแพงสูงชันขวางกั้นการพัฒนาด้านภาษาอยู่
เพราะการพูดสำเนียงอังกฤษที่ถูกต้องกลับเป็นเรื่องขันหรือดัดจริตในสังคมไทย สร้างปมขัดแย้งให้กับผู้ใช้ภาษาอังกฤษอีกด้วย
การแก้ปัญหาด้านภาษาอังกฤษของไทยนั้นยาก
เพราะส่วนหนึ่งมาจากสังคมมากดทับการพัฒนาด้านภาษา ขณะที่ระบบการศึกษาก็ไม่ได้ทำความเข้าใจกับการเรียนรู้แม้แต่น้อย
ดังนั้นทางออกมีอยู่ 2 วิธีคือ 1. การสร้างระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัยเข้าใจโลกมากขึ้น
ซึ่งเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าหากทำได้จะทำให้ภาษาอังกฤษของเด็กๆ
พัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยังสร้างมาตรฐานการศึกษาไปอีกระดับ 2. ค่านิยม หรือการแก้ปัญหาความเข้าใจด้านภาษาอังกฤษ
ชี้ให้เห็นว่าการพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงที่ถูกต้องไม่ได้ดัดจริต จะทำให้การพัฒนาเกิดความคล่องตัวมากขึ้น
สิ่งนี้ควรเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวในทุกครัวเรือน ควรปลูกฝังค่านิยมนี้เพื่อให้มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อลูกๆ ของคุณออกมาเจอสังคมซึ่งมีการอบรมการสอนที่คล้ายกันก็จะทำให้การพูดสำเนียงฝรั่งไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
ซึ่งสิ่งนี้ทางรัฐบาลสามารถให้การสนับสนุนในอีกทางหนึ่งได้
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=OvdYkIYgkBY&t=1866s
https://www.youtube.com/watch?v=20sTLo9OGOU&t=678s
https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/hmp39.pdf
https://www.facebook.com/groups/229501677453336/
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ภาษาอังกฤษ สิ่งที่คนไทยกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
Reviewed by tonygooog
on
06:09:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: