Add Me ON

About

คอลัมน์ ลับเฉพาะ : อนาคตเกมไทย รุ่งหรือร่วง

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์

          ตั้งแต่เราเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ ทำให้โรงงานต่างๆ เกิดการพัฒนาและเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปที่ได้รับแรงหนุนจากภาครัฐอย่างล้นหลาม เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมประเภทนี้ สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง (Value Chain) เช่นบริษัทที่เกี่ยวโยงกับผลผลิต รวมไปถึงแรงงานและเกษตรกรต่างๆ ทว่า มีอุตสหกรรมประเภทหนึ่งที่ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ และไม่ได้รับความเอาใจใส่จากผู้หลักผู้ใหญ่เท่าใดนัก ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมดังกล่าวกลับเติบโตในหมู่เยวชนอย่างกว้างขวาง และมีการแนวโน้วที่มูลค่าตลาดจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั้นคือ อุตสหกรรมวีดีโอเกม

          โดยปัจจัยที่เห็นได้ชัดคือบริษัทพัฒนาเกมของไทยยังมีน้อยนิด อีกทั้งนักธุรกิจส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นจุดคุ้มทุนในการลงทุนกับอุตสาหกรรมประเภทนี้ ไม่ว่าจะในรูปแบบ Game PC หรือ Game Online อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้แรงสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากไม่สอดคล้องต่อนโยบายภาครัฐที่ต้องการยกระดับเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับฐานรากเป็นสำคัญ อีกทั้งทัศนะของผู้ปกครองส่วนใหญ่ ยังยกให้เกมเป็นเรื่องของความบันเทิงสำหรับเด็ก ด้วยแรงหนุนทั้งด้านทุนทรัพย์และผู้บริโภคที่ไม่เปิดกว้างพอ ทำให้การเติบโตของวีดีโอเกมในประเทศไทยยังคงลุ่มๆ ดอนๆ อยู่เช่นนี้




          ถึงกระนั้น สำหรับผู้บริโภคในกลุ่มเด็กและเยาวชน ความต้องการในกิจกรรมประเภทนี้ก็ยังมีอยู่มาก ซึ่งความถวิลหาของเหล่าเกมเมอร์ ถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดเกมให้มาไกลถึงจุดนี้ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  SIPA พบว่า ตลาดเกมในช่วงปี 2558 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% จากปี 2557 ที่เติบโตอยู่ที่ 14.7% และถึงแม้จะสภาพเศรษฐกิจโดยรวมจะซับเซา ทว่า SIPA ก็ยังมองเห็นอนาคตที่สดใสของเกม โดยคาดการณ์การเติบโตของวีดีโอเกมในปี 2559 จะแตะที่ 26.1% เลยทีเดียว โดยตัวแปรสำคัญมาจากแพลตฟอร์มเกมที่มีหลากหลายขึ้น อาทิ Game PC เกมมือถือ อีกทั้งอุปกรณ์เสริมที่ล้ำสมัยสร้างแรงจูงใจผู้เล่นเป็นอย่างมาก เช่น แว่น Virtual Reality (VR) ที่ทำให้เราได้สัมผัสเกมแบบเสมือนจริง อีกทั้งระบบเกม (Gameplay) ที่มีลูกเล่นมากขึ้น บวกกับกราฟิก (Performance) ที่สรรสร้างภาพได้คมชัดจัดเต็มประหนึ่งชมภาพยนต์ ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกมสามารถครองใจผู้เล่นได้อย่างไม่ยากเย็น และมีโอกาสสูงที่จะขยายกลุ่มผู้เล่นได้ให้เข้าถึงทุกเพศทุกวัยมากขึ้น





          อ่านมาถึงจุดนี้ ใครหลายคนอาจมองว่า แม้อุตสาหกรรมเกมไม่ได้แรงหนุนจากภาครัฐ ก็ยังไม่ได้มีอาการซบเซาอย่างที่เกริ่นในตอนต้น แต่ถึงกระนั้น ก็ต้องยอมรับว่า มูลค่าตลาดที่เติบโตส่วนหนึ่งมาจากการซื้อขายลิขสิทธิผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศเสียส่วนใหญ่ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ ซึ่งมูลค่านำเข้าเกมโดยเฉลี่ย 6,770 ล้านบาท ขณะที่มีการส่งออกมีเพียง 1,057 ล้านบาทเท่านั้น 

          เมื่อหันมามองเกมสายเลือดไทยแท้ ก็จะเห็นชัดว่าไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้เล่นเท่าใดนัก แถมหน่วยงานรัฐยังไม่มีการส่งเสริมเป็นรูปธรรม และสิ่งที่บาดแทงหัวใจอุตสาหกรรมเกมไทยมาโดยตลอด คือขุมทรัพย์ด้านทรัพยากรของไทยที่มีคุณภาพจำนวนมากไม่มีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพ ส่งผลให้บุคคลกรอันยอดเยี่ยม ไปร่วมงานกับผู้พัฒนาเกมต่างประเทศชั้นนำต่างๆ แทน เป็นการตัดโอกาสในการพัฒนาเกมสายเลือดไทยเป็นอย่างมาก


ตลาดเกมไทยเติบโตอย่างมีอนาคต แต่ความก้าวหน้าในการสร้างเกมไทยยังคงวิกฤตอยู่เช่นเดิม 


ปรีชญา ศรีสมบัติ โปรแกรมเมอร์ชาวไทยที่ได้ร่วมงานบริษัทสายเลือดซามูไรอย่าง สแควร์ เอนิกซ์ รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับเกมส์ Final Fantasy เคยให้สัมภาษณ์ใน MGROnline ถึงโอกาสแสดงความสามารถให้เจิดจรัสด้านการพัฒนาเกมในประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่มีการสนับสนุนแวดวงเกมจากภาครัฐอย่างเข้มข้นผ่านระบบการศึกษา เห็นได้จากการจัดตั้ง โรงเรียนสายอาชีพ เซมมงกักโค ที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเขียนโปรแกรมพัฒนาเกมโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีบริษัทพัฒนาเกมจำนวนมากมายที่ต้องการทรัพยากรในการพัฒนาโปรแกรม ด้วยความต้องการของบริษัทที่สอดรับกับจำนวนแรงงานที่มีการผลิตออกมาในปริมาณที่มาก ทำให้การเติบโตอุตสาหกรรมเกมนั้นไม่มีใครเทียม ต่างจากประเทศไทยที่มีเยาวชนจำนวนมากที่สนใจในสายอาชีพนี้ แต่กลับมีบริษัทพัฒนาเกมอยู่เพียงไม่กี่แห่ง เกิดเป็นการแข่งขันเพื่อแย่งตำแหน่งที่มีเพียงอยู่หยิบมือ บางคนอาจก้าวกระโดดไปต่างแดน เพราะโอกาสในการเข้าถึงสายอาชีพในวงการเกมดีกว่ามาก



ระหว่างที่ใครหลายคนเริ่มเบือนหน้าหนีและกำลังถอดใจกับการเดินหน้าตลาดเกมไทยให้ทัดเทียมวงการเกมในระดับโลก บริษัท เอ็มซีด เอเชีย จำกัด หนึ่งในเครือญาติของ บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ผุดไอเดียหว่านเมล็ดสร้างผู้พัฒนาเกมเลือดสยามในระดับมาสเตอร์ขึ้นมา ภายใต้ชื่อโครงการ MSeed Accelerator โดยมีประสงค์เพื่อค้นหาทีมพัฒนาเกมระดับมือฉมังแค่ 5 ทีม จากจำนวนทั้งหมด 50 ทีม โดยผลจากแรงขับเคลื่อนด้วยโครงการสร้างฝันคนสร้างเกม ได้เกิดเป็นแรงบัลดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการพัฒนาเกมของตนเอง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ได้ศึกษางานในบริษัทพัฒนาเกมชั้นนำต่างๆ สร้างองค์ความรู้ด้านแผนธุรกิจ พร้อมสร้างนิมิตรหมายอันดีในการให้ผู้พัฒนาเกมสามารถเข้าแหล่งเงินทุนหรือผู้ลงทุนที่สนใจในเกมไทยได้อีกด้วย

ด้านแพลตฟอร์มเกมที่ควรพัฒนาและมีโอกาสสร้างมูลค่ามหาศาล ทั้งในแง่รายได้และกลุ่มผู้เล่น คงหนีไม่พ้น เกมมือถือ เนื่องจากเป็นประเภทเกมที่ผู้พัฒนาหลายคนจับจ้องอยู่ เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้อย่างดีจากการเติมเงินของผู้เล่น ยิ่งเกมติดตลาดเท่าใดโอกาสได้กำไรจากการเติมเงินก็ยิ่งสูงตามไปด้วย รวมถึงเป็นเกมที่เข้าถึงผู้เล่นที่ต้องการความเพลิดเพลินเน้นเล่นเกมเพื่อฆ่าเวลา ไม่ต้องการระบบเกมที่ซับซ้อนหรือใช้เวลานานในการจบเกม แถมเกมประเภทดังกล่าว ยังเป็นการผสมผสานเข้ากับปัจจัย 5 อย่างมือถือได้อย่างแนบเนียน ถือเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยทีเดียว ซึ่งประเทศไทยก็มีเกมบนมือถือที่โดดเด่นอยู่เช่นกันอย่าง เกม Chaos Sphere จากทีม Snoozefox ซึ่งติด 1 ใน 5 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบในโครงการ MSeed Accelerator และได้รับรางวัล Game DeveloperConference 2015 (GDC2015)  เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า เส้นทางของเกมมือถือประเทศไทยนั้นยังมีแนวโน้มที่น่าสนใจ ขณะที่ผู้พัฒนาเกมในสายนี้ก็อยู่ไม่น้อย แม้ตอนนี้โอกาสได้อนิสงค์จากภาครัฐในการสนับสนุนจะเป็นไปได้ยาก แต่นายทุนภาคเอกชนนั้นก็เริ่มเปิดใจยอมรับอุตสาหกรรมเกมมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งหากมีผลักดันจากโครงการสานฝันผู้พัฒนาเกมอย่างต่อเนื่องอีกล่ะก็ โอกาสในการสร้างเกมสายเลือดไทยในคุณภาพทัดเทียมระดับสากล ก็จะไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป

ข้อมูลอ้างอิงจาก
http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=91957

http://www.online-station.net/feature/feature/16045

http://www.online-station.net/feature/feature/16045

http://www.gameupcoming.com
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : อนาคตเกมไทย รุ่งหรือร่วง คอลัมน์ ลับเฉพาะ : อนาคตเกมไทย รุ่งหรือร่วง Reviewed by tonygooog on 18:22:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.