Add Me ON

About

คอลัมน์ ลับเฉพาะ : แผนแจกเงินกระตุกเศรษฐกิจ ช่วยได้จริงหรือเพียงเล่ห์กลประชานิยม

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์         

แบบสอบถาม : คิดว่าแผนรัฐวิสาหกิจโดยการแจกเงินฐานราก เพื่อให้เศรษฐกิจมีเงินหมุนเวียนคิดว่าช่วยเศรษฐกิจได้มากแค่ไหน

twitter จำนวน 9 ราย
         56%  ไม่ได้เลย
         44%  ได้ระดับหนึ่ง
         0%    ได้ดี
         0%    ได้อย่างมาก

              หลังจากอดีตนายก อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ เคยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เซ็คช่วยชาติมูลค่า 2,000 บาท เป็นจำนวน 9.7 ล้านราย ในช่วงปี 2552 เพื่อตอบโต้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นที่เกิดการหดตัวอย่างรุนแรง มีผลมาจากปรากฏการณ์วิกฤตการเงินโลก ส่งผลให้ประชาชนไม่กล้าบริโภค เอกชนไม่กล้าลงทุน มาตรการ เซ็คช่วยชาติ ของพรรคประชาธิปัตย์ คือการกระตุ้นพฤติกรรมให้เกิดการใช้จ่ายกันมากขึ้นซึ่งจะโยงไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้ายที่สุด ทว่าในวงวิชาการกลับมาความเห็นที่แตกไปอยู่สองทางด้วยกัน นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ชี้ให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวมีผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนี้

        เห็นด้วย
         ควรเอาเงินใส่มือประชาชนที่อยู่ในฐานะยากจนมากๆ จะดีกว่า เพราะจะเอาเงินออกมาใช้จริง
        ไม่เห็นด้วย
          ประชาชนจะเอาเงินนั้นออกมาใช้จ่ายจริงหรือ และเกรงว่าไม่ก่อให้เกิดการจ้างงาน และนี้ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือคนจนที่อย่างแท้จริง เพราะว่าคนที่สามารถประกันตนได้แสดงว่าต้องมีรายได้ ส่วนคนที่จนที่สุดเป็นคนที่อยู่นอกระบบประกันตน

(เช็คช่วยชาติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ)


               แม้มาตรการช่วยเหลือในครั้งนั้น จะไม่ได้การันตีการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และยังอยู่ในข้อครหาว่าเป็นหลักคิดของประชานิยม แต่จากวันนั้นผ่านมา 4 ปี รัฐบาลทหารในปัจจุบันก็ได้มีการเดินหน้ามาตรการที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่าง สวัสดิการแห่งรัฐ ออกมา โดยจะมีสองกลุ่มที่จะจำนวนเงินที่แตกต่างกัน ผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี จะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีคนละ 3,000 บาท ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จะได้ 1,500 บาท แน่นอนว่า ด้วยหลักการดำเนินมาตรการที่คล้ายกับ เช็คช่วยซาติจนเหมือนแฝดคนละฝาขนาดนี้ ทำให้ใครหลายฝ่ายเริ่มตั้งแง่กับแนวคิดของรัฐบาลทหารอีกครั้ง

                นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า ตนเองไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดแจกเงินของรัฐบาลทหารเท่าไหร่นัก เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแต่อย่างและจะมีสภาพลงเอยเหมือนเซ็คช่วยชาติที่หลังจากมีการแจกเช็คไปแล้ว 3 เดือนถัดมาเศรษฐกิจก็ติดลบ -4.9% และ ถัดมาอีก 3 เดือนเศรษฐกิจก็ยังติดลบ - 2.8% ซึ่งเป็นการติดลบ 6 เดือนติดกันหลังจากแจกเช็คช่วยชาติ ซึ่งนั้นบ่งชี้ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจล้มเหลว ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกลับมองไปที่ตัวแปรหลักที่สร้างแรงกระเทือนให้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ซบเซาแม้มีการกระตุ้นจากรัฐบาล ปชป. เพราะจากวิกฤตการเงินโลกที่ยังคงวิกฤตอย่างต่อเนื่องในช่วงขณะนั้น

Bansorn ยังพบอีกว่าคนส่วนใหญ่มองมองมาตรการแจกเงินช่วยคนจนนั้นไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด ซึ่งไม่แปลกที่ส่วนมากจะมองเช่นนั้น เนื่องจากหลังจากมีการเดินหน้าแจกเงินคนจน เงินกลับไม่ได้อยู่ในมือของคนจนเพียงอย่างเดียว เพราะคำกำกับนิยาม คนจนยังนิยามกว้างเกินไป อาทิ สวัสดิการแห่งรัฐจะมอบเงิน1,500 บาท ให้กับผู้มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ที่มีอยู่ 8.32 ล้านรายทั้งประเทศ นั้นหมายความว่าคนกลุ่มนี้หากมีรายได้ 50,000 บาท (ไม่เกิน 1แสนบาท) จะสามารถได้เงินจากรัฐ 1,500 บาท ทันที่ ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือว่า จนไม่จริงมีจำนวน 3.9 ล้านราย ก็ไม่ได้ทำผิดอะไรที่จะไปรับเงิน เนื่องจากมาตรการดังกล่าวไม่ได้สร้างเงื่อนไขให้กับคนกลุ่มนี้




การเมืองกรุงเทพธุรกิจได้ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 ที่มีสิทธิจะได้รับเงิน 3,000 บาท มีจำนวนคนทั้งหมดเพียง 4.42 ล้านรายเท่านั้น ซึ่งหากมีการจ่าย 3,000 ให้กับคนกลุ่มนี้ ก็ใช้งบประมาณเพียง 13,000 ล้านบาท ขณะที่งบที่เหลือกว่า 5,800 ล้านบาท กลับไปแจกให้กับกลุ่ม กลุ่มคนไม่จริง แทน ทำให้ประเมินได้ว่าการใช้เงินจากรัฐในครั้งนี้ไม่ได้ประโยชน์ตามเป้าหมายที่รัฐบาลคาดหวังไว้ ซึ่งสอดรับกับความเห็นของ Bansorn โพล ได้สอบถามความเห็นของสังคม Twitter จำนวน 9 ราย ประเด็นแผนรัฐวิสาหกิจโดยการแจกเงินฐานรากจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ซึ่งพบว่า กว่า 56% มองว่าไม่มีทางเลยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ มีเพียง 44% เท่านั้นที่คิดแผนแจกเงินของรัฐบาลจะช่วยได้แต่ก็แค่ในระดับหนึ่งเท่านั้น

คงไม่แปลกอะไรที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นผลประโยชน์ของการแจกเงินในครั้งนี้ เพราะเงินใน 1 ใน 3 กลับไปตกอยู่กับคนมีอันจะกิน เป็นการตอกย้ำถึงความหละหลวมของมาตรการเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นการแจกเงินให้กับประชาชนโดยหวังว่าผู้ที่ได้เงินส่วนนี้จะนำเงินไปอุปโภคบริโภคเพื่อให้เงินเกิดการหมุนเวียน อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีสามารถคาดเดาได้ว่าคนส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ 

ถึงกระนั้น รัฐบาลเองก็มีหัวการค้าอยู่ไม่น้อย เพราะหลังจากปล่อยสวัสดิการแห่งรัฐกับการแจกเงินฟรีไปได้ซักพัก ทางภาครัฐก็ออกมาตรการเชิญชวนให้ประชาชนควักเงินกระเป๋าอย่าง ช็อปช่วยชาติ” ออกมา ด้วยการให้ซื้อของขวัญของฝากของถูกใจเพื่อนำไปหักลดภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อรายในระยะเวลา 18 วัน ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคมปี 2560 เป็นต้นไป และทางรัฐบาลเชื่อว่าการกระตุ้นด้วยช็อปช่วยชาติจะทำให้เกิดการใช้จ่ายกว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากขยายเศรษฐกิจให้โตขึ้นถึง 3.2 ก็ถือว่ามาตรการนี้ไม่เลวร้ายมากนัก แม้ทางกระทรวงการคลังอาจพบภาวะขาดทุนไปบ้างก็ตาม แต่ในความเป็นจริง นี้คือการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นและไม่ได้ส่งผลอะไรกับเศรษฐกิจในภาพรวมมากนัก นอกจากนั้นนี้เงินส่วนหนึ่งก็ตกอยู่คนชั้นกลางในสังคม นั้นหมายความว่าสำหรับเงินก้อนนี้ นับเป็นโบนัสส้มหล่นของพวกเขาเลย กลับกันผู้มีรายได้น้อยเมื่อได้เงินส่วนนี้ แทนที่จะออมเงินกลับมีมาตรการมากระตุ้นใช้จ่ายหนักขึ้น โดยชี้ผลประโยชน์ของการลดภาษีและไม่คำนึงถึงผลกระทบหรือความจำเป็นของการใช้จ่ายนั้นๆ เลย
 


            Bansorn จึงกล่าวได้ว่าสวัสดิการแห่งรัฐในการแจกเงินไม่ได้ต่างอะไรไปจากประชานิยม แม้จุดประสงค์จะมุ่งเพื่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่การดำเนินมาตรการเช่นนี้ ก็จะไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมเท่ากับค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลเสียไป และเมื่อพ้น 18 วันหลังช็อปช่วยชาติ สภาพการใช้จ่ายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจยังล่อแหลม หนักไปทางซบเซาด้วยซ้ำ มีโอกาสที่ประชาชนจะตกอยู่ในสภาพหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น เพราะแผนลดภาษี 15,000 บาท จะเป็นแรงผลักให้คนนั้นใช้จ่ายเต็มพิกัด เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ นั้นเท่ากับดันให้คนได้รับเงินต้องใช้เงินเกินกว่าที่ได้รับ ไม่ว่าจะ 1,500 หรือ 3,000 ก็ตาม 

           
(เสริมทรัพย์ให้ชุมชนฐานรากคือบรรทัดฐานของความรุ่งเรือง)

                  ทางแก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือหยุดวงจรประชานิยมลง และจริงจังกับการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง การปลูกทรัพย์ทั้งทางรายได้และปัญญาให้กับฐานราก เป็นสิ่งสำคัญและควรทำอย่างเร่งด่วนและมิควรเน้นจัดสัมมนาหรือจัดงานแสดงสินค้าบางครั้งบางคราวเพื่อให้เกิดรายได้เล็กน้อยต่อชุมชน แต่ควรจัดระเบียบการจัดการอย่างจริงจัง หยั่งรากลึกลงไปทางจากระบบ พัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ยังขาดประสบการณ์ พร้อมเยียวยาให้กลุ่มด้อยโอกาสให้สามารถยืนด้วยลำแข้งตนเองได้ ไม่ใช่มุ่งส่งเสริมกับกลุ่มที่ประสบความสำเร็จเพียงอย่างเดียว พร้อมจัดตั้งภูมิภาคให้มีที่แสดงสินค้าอย่างเป็นหลักแหล่ง สร้างเป็น โมเดิร์นเทรดของชุมชน ที่คนรายได้ระดับล่างจะจ่ายไหว และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานที่เหล่านั้น เพื่อดึงดูดกำลังซื้อหลักอย่างคนรายได้ระดับปานกลางเข้ามาจับจ่ายด้วย เพียงแค่นี้รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องแจกเงินทุกๆ สิ้นปีแล้วครับ #bansornmagazine

อ้างอิงโดย : http://www.thairath.co.th/content/800916
                http://www.banmuang.co.th/news/politic/69091
               http://www.chaoprayanews.com/2009/03/24/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95/

ติดตามข่าวสารการอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/barnsorn/
                                                        https://twitter.com/tonygooogking
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : แผนแจกเงินกระตุกเศรษฐกิจ ช่วยได้จริงหรือเพียงเล่ห์กลประชานิยม คอลัมน์ ลับเฉพาะ : แผนแจกเงินกระตุกเศรษฐกิจ ช่วยได้จริงหรือเพียงเล่ห์กลประชานิยม Reviewed by tonygooog on 11:10:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.