Add Me ON

About

คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ประหารเยาวชน!!!

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์

Key DATA
ข้อมูลสถิติคดีจากศาลยุติธรรม
-สถิติคดีแพ่งและอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและคดีเสร็จไปของศาลฎีกา ประเภทเยาวชน ประจำปี พ.ศ. 2558
คดีแพ่งทั้งหมด 142               คดีค้าง 59 - 28.7
คดีอาญาทั้งหมด 191           คดีค้าง 55 - 41.5% 
-สถิติคดีแพ่งและอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและคดีเสร็จไปของศาลฎีกา ประเภทเยาวชน ประจำปี พ.ศ. 2557
คดีแพ่งทั้งหมด 253               คดีค้าง 96 - 37.9%
คดีอาญาทั้งหมด 261           คดีค้าง 80 - 30.6%
-เปรียบเทียบปริมาณคดีที่เข้าสู่ศาลฎีกา ของปี 2558 และช่วงเดือนมกราคม – เมษายน ของปี 2559
        22,252 คดี ปี 2559 ช่วงเดือน (มกราคม –เมษายน
         25,373 คดี ปี 2558

ข้อมูลการประหารชีวิตจากกรมราชทัณฑ์
-สถิตินักโทษประหารชีวิตช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558
 649 ราย จำแนกเป็นชาย 597 ราย และหญิง 52 ราย
(รวบรวมข้อมูลวันที่ 12 มีนาคม 2560)
(เนื่องจากในปี 2559 มีการรายงานผลถึงช่วง มกราคม - เมษายน ทำให้ไม่ทราบตัวเลขของคดีที่แน่ชัด)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
              
                 ข่าวขึ้นโรงขึ้นศาล นับวันจะมีให้เห็นกันเกือบทุกๆ นาทีที่เปิดโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ สิ่งที่น่าวิตกยิ่งกว่านั้น อนาคตมีโอกาสที่แนวโน้มของคดีความต่างๆ จะทวีความรุนแรงและมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นปัญหาของสังคมที่เรื้องรังยากที่จะแก้ไข โดยทาง Bansorn ได้ทำการเปรียบเทียบปริมาณคดีที่เข้าสู่ศาลฎีกา ของปี 2559 ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน มีปริมาณคดีอยู่ที่ 22,252 คดี ซึ่งน้อยกว่าปี 2558 ที่มีคดีทั้งหมด 25,373 คดี ทว่า ตัวเลขรายงานผลของปี 2559 แม่ตอนนี้ยังไม่มีการระบุปริมาณคดีในช่วงเวลาที่เหลือ ถึงกระนั้น แค่ช่วงเวลายังไม่ถึงครึ่งปีของปี 2559 กลับมีคดีเกือบเทียบเท่ากับปริมาณคดีของปี 2558 ทั้งปี แม้ช่วงเวลาที่เหลืออีก 8 เดือน ยังไม่มีการรายงานผล แต่ก็คาดการณ์ได้ว่า คดีมีโอกาสที่ปริมาณคดีจะสูงกว่าปี 2558 ไม่มากก็น้อย



                เมื่อ Bansorn ตรวจสอบผลสำริจการดำเนินคดีประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มคดีเยาวชนที่ถือเป็นกลุ่มที่ทางสังคมต้องการให้มีการลงโทษที่เด็ดขาดและหนักหน่วงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องพบว่า ปริมาณของคดีจากกลุ่มเยาวชนหากเทียบกับสัดส่วนโดยรวม อาจมีไม่มากนัก แต่เมื่อมองไปด้านการไขคดีของผู้รักษากฎหมาย กลับมีคดีที่ยังคั่งค้างเกือบ 30-% หรือ 1 ใน 3 ของคดีทั้งหมด ซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นที่ยังสูงอยู่มาก ส่วนหนึ่งอาจมาจากบทกระบวนการสืบสวนที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ขณะที่คดีเยาวชนบางคดีก็มีสถานะเกี่ยวพันกับตำรวจ อาทิ เป็นลูกหรือเป็นคนรู้จักตำรวจ ส่งผลให้การคลี่คลายคดีเยาวชนอาจเกิดอาการลักลั่นไม่เป็นธรรมขึ้นได้

 ขณะที่ยังมีหน่วยงานและกฎหมายสนับสนุนเยาวชนกลุ่มนี้และตัดสินคดีโดยใช้เมตตาธรรมในการตัดสิน โอกาสที่ประชาชนโดยเฉพาะผู้เสียหายที่จะได้เห็นความเป็นธรรมในการตัดสินคดีก็เริ่มริบหรี่ลงอย่างไม่มีหวัง ส่งผลให้สังคมภาพรวมต้องเผชิญกับภัยสังคมที่เรียกตนเองว่า เยาวชน และต้องดูแลตัวเองมากกว่าจะหวังพึ่งผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เพราะหลายครั้งคดีดำเนินการล่าช้าจนเกินไป หรือบางครั้งคดีไม่มีการสืบสวนหาคนผิดแต่อย่างใด จนบางครั้งสังคมหลงคิดไปว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยกำลังสนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่กระทำผิดอยู่หรือไม่



 ซึ่งปรากฏการณ์ภัยสังคมที่เกิดจากเยาวชน ณ ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่และนับวันเยาวชนที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สภาพสังคมไทยในภาพรวมมีแนวโน้มไปในทิศทางไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะเวลายามวิกาล จนสังคมเกิดความเอือมระอา กับพฤติกรรมเยาวชนที่ก่อคดีร้ายแรงอย่างไม่กลัวกฎหมายทั้งข่มขืนหรือฆ่าผู้บริสุทธิ์ ที่ออกข่าวอยู่ทักวัน ทำให้เสียงเรียกร้องของประชาชนในการเพิ่มโทษเยาวชนด้วยการประหารชีวิตจึงเริ่มได้ยินกันให้หนาหูมากขึ้นเรื่อยๆ  ทว่า ในแง่ของความเป็นจริง ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการประหารชีวิตเยาวชนได้ เนื่องจากในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยสัญญาดังกล่าวมีเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปี ใน 4 ด้าน ได้แก่

1 สิทธิในการอยู่รอด
2 สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง
3 สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ
4 สิทธิในการมีส่วนร่วม

นั้นเป็นพันธกรณีที่ทางประเทศไทยต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และหากมีการละเมิดอนุสัญญาดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศเนื่องจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีประเทศร่วมลงนามกว่า196 ประเทศ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี นั้นหมายความว่าในสายตากว่า 196 ประเทศ จะดูแคลนประเทศไทยที่ไม่ยอมรักษาสัญญาตามที่บัญญัติเอาไว้ และอาจสร้างผลกระทบในวงกว้างตามมา ทั้งในแง่ความสัมพันธ์หรือการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนั้นย่อมไม่ใช่ผลดีกับเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะยึดหลักเมตตาธรรมดำรงสิทธิมนุษยชนร่วมลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ถึงกระนั้น กฎหมายประเทศไทยก็ยังคงหลักกฎหมายกำหนดประหารชีวิตเอาไว้อยู่ โดยข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ มกราคม ปี 2558 พบว่ายังมีการประหารชีวิตผู้ต้องคดีทั้งหมด 649 ราย โดยจำแนกเป็นคดีทั่วไปเป็น 278 ราย ขณะที่เป็นคดียาเสพติด 371 ราย โดยกลุ่มผู้ถูกประหารส่วนใหญ่จะพ้นจากสถานะเยาวชนแล้วแทบทั้งสิ้น ขณะที่ยังไม่มีการรายงานลงโทษโดยประหารชีวิตสำหรับเยาวชนแต่อย่างใด
(สีแดงคือประเทศที่ยังมีใช้กฎหมายประหารชีวิตอยู่)

การไม่ตัดสินคดีรุนแรงแก่เยาวชนได้ มีผลพวงมาจากการรักษาภาพพจน์ของประเทศในสายตาชาวโลก โดยการลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยประสงค์ของการลงนามเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจและสัมพันธมิตรระหว่างประเทศ ดังนั้นการแก้ปัญหาเยาวชนด้วยการประหารชีวิตอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นไปได้ เพราะคาดว่าสนธิสัญญาดังกล่าวคงจะอยู่กับประเทศไทยไปอีกหลายปี

(บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี)


              จากบริบทโดยรวมของประเทศ แนวทางในการลงโทษเยาวชนกลุ่มนี้อย่างได้ผลและเป็นไปได้มากที่สุด คือการดำเนินลงโทษเข้มข้น โดยไม่มีการลดโทษแต่อย่างใด บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นักแสดงชื่อดังได้เคยให้สัมภาษณ์กับ ข่าวสด ถึงกรณีประหารชีวิตเยาวชนว่า เธอเองไม่เคยสนับสนุนให้ประหารชีวิตเยาวชน แต่สิ่งที่เธอเรียกร้องคือการลงโทษคนกลุ่มนี้อย่างจริงจังและไม่มีการลดโทษแต่อย่างใด เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายและแสดงให้เห็นว่า แม้เป็นเยาวชนก็สามารถรับโทษรุนแรงได้เช่นกันซึ่งสถาบันครอบครัวก็ต้องให้ความร่วมมือและดูแลลูกอย่างจริงจังไปพร้อมๆ กัน ซึ่งหากทำได้อย่างที่นักบุ๋มเสนอแนะ การจัดการเยาวชนกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเยาวชนจะอยู่ในการควบคุมของสถาบันครอบครัว ขณะเดียวกันครอบครัวก็ต้องรับผิดชอบหากลูกมีพฤติกรรมแบบเดิม และด้วยกฎหมายที่เข้มงวดจะเป็นเครื่องยับยั้งชั่งใจให้กับเยาวชนกลุ่มนี้ก่อนก่อคดีได้เป็นอย่างดี
คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ประหารเยาวชน!!! คอลัมน์ ลับเฉพาะ : ประหารเยาวชน!!! Reviewed by tonygooog on 10:19:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.