Add Me ON

About

ความลับเฉพาะ : อ่านหนังสือทำไมในยุค 4.0?

เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์

Key Data
สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จาหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
                -ปี 2558 พบว่าคนไทยมีการอ่านหนังสือวันละ 28 นาทีต่อวัน (อายุมากกว่า 14 ปี)
                   - มีคนอ่านหนังสือประจำ 88% > มีคนไม่อ่านหนังสือเลย 12%
                -สาเหตุหลักในการอ่านหนังสือคือเพื่อความบันเทิง ร้อยละ 49.2
-สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.)
                -ปัจจัยส่งเสริมการอ่านมาจาก พ่อ-แม่ 74%
                -พ่อแม่เห็นไม่มีเวลาอยู่กับลูกมากนัก เพราะต้องทำงาน 59%
                -หนังสือการ์ตูนเป็นหนังสือที่เยาวชนชอบอ่านมากที่สุด 34%  
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


               ช่วงเวลากว่าพันปีที่ผ่านมา ในอดีตหนังสือถือเป็นสื่อที่ทรงอนุภาพมากที่สุดด้านการสื่อสาร เพราะนอกจากจะเป็นสื่อที่เข้าถึงคนทุกกลุ่มแล้ว ยังเป็นสารที่อัดแน่นไปด้วยสาระความรู้มากมายที่หาไม่ได้จากที่ไหน ดังนั้นบนหน้ากระดาษหนังสือจึงเป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ที่ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้คนจำนวนไม่น้อยจึงยอมที่จะควักเงินออกมาและแบกหนังสือหนักๆ เป็นเล่มๆ พกติดตัวเพื่อไว้อ่านยามว่าง และจากห้วงเวลานับพันๆ ปีถึงปัจจุบัน หนังสือยังคงแสดงความทรงพลังด้านการสื่อสารออกมาได้อย่างดี สะท้อนจากแฟนคอหนังสือที่ยังรักและต้องการรักษาสื่อเก่าแก่นี้ไปอีกนานเท่านาน แม้แต่ในประเทศที่คุณคิดว่าไม่รักการอ่านหนังสืออย่างประเทศไทยก็ยังการรณรงค์อยู่เนืองๆ 

                 จากผลสำรวจของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ถึงพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทยพบว่า คนไทยทั่วไปมีพฤติกรรมไม่ชอบอ่านหนังสือประมาณ 12% ขณะที่ผู้อ่านหนังสือมีถึง 88% ตอนที่ผมได้เห็นชุดตัวเลขนี้ครั้งแรกก็อดประหลาดใจไม่ได้ เพราะจำนวนผู้ไม่อ่านหนังสือเทียบไม่ได้เลยกับปริมาณผู้อ่านหนังสือ หรือคำกล่าวที่ว่า คนไทยอ่านไม่เกิน 7 บรรทัดจะเป็นเพียงคำลวง อย่างไรก็ตาม หากนำตัวเลขดังกล่าวมาถัวเฉลี่ยตามประชากรของประเทศ จำนวนผู้ไม่อ่านหนังสือมีประมาณ 8.4 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน ซึ่งก็ถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว 



ทำให้คิดต่อไปว่า หากแหล่งความรู้พื้นฐานอย่างหนังสือที่คนเกือบ 10 ล้านคนที่ไม่สามารถ(หรือไม่ยอม)เข้าถึง จะสร้างผลกระทบอย่างไรต่อคุณภาพประชากร-สังคมในอนาคต ด้วยเหตุนี้ในสังคมส่วนใหญ่จึงพยายามชี้นำให้เห็นประโยชน์ของ การอ่านหนังสือ” พร้อมพยายามจัดโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมปลูกฝังให้เกิดการรักการอ่านหนังสือ แต่โครงการรักหนังสือก็ดูเหมือนจะเป็นหมันไปซะอย่างงั้นทว่า เมื่อโลกหมุนเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมผลิตสื่อใหม่ที่มีศักยภาพการสื่อสารที่สูงกว่า เข้าถึงง่ายกว่า แถมยังมีราคาที่ต่ำกว่าอย่าง อินเทอร์เน็ตขึ้นมา โดยนอกจากจะสื่อสารได้เร็วทันใจวัยรุ่นแล้ว ยังสามารถหล่อเลี้ยงพฤติกรรมการอ่านให้ยังคงอยู่ต่อไปได้ แม้ไม่ต้องจับหนังสือสักเล่ม มันทรงพลังอย่างยิ่ง จนสื่อเก่าแก่ที่สุดในโลกอย่างหนังสือไม่อาจต่อกรได้ 

ดังนั้นใน Keyword ในยุคเทคโนโลยีที่เหล่าคนไม่ชอบอ่านหนังสือกำลังค้นหา อาจไม่ใช่สิ่งที่สังคมพยายามปลูกฝังอย่างเช่น ต้องรักการอ่านหนังสือ แต่อาจเป็นเพียงคำถามไม่ซับซ้อนอะไรมากมาย แต่ต้องการความชัดเจน อย่างเช่นทำไมต้องอ่าน หนังสือ   
                  ฟังดูเป็นคำถามไม่น่าถาม แต่ก็เป็นความจริงที่ยากจะปฏิเสธ นั้นคือสังคมการอ่านหนังสือของประเทศไทยในปัจจุบันนับวันจะมีอัตราน้อยลงอย่างต่อเนื่อง สภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า หนังสือต่างๆ มีความสำคัญน้อยลง โดยส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสื่อใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารที่ดีกว่าสื่อเก่าและสามารถเป็นประตูเชื่อมต่อกับเนื้อหานับหมื่นนับแสนโดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพียงเครื่องเดียว แถมยังจุดประกายการอ่านซึ่งเป็นเป้าหมายดั้งเดิมได้ดี โดยที่คุณไม่ต้องซื้อหนังสือมาเพื่ออ่านอีกต่อไป อีกทั้งสื่อใหม่หรือสื่อออนไลน์ยังเข้าถึงง่าย ถึงขั้นปุถุชนคนธรรมดาสามารถครอบครองเป็นเจ้าของเองได้ ด้วยบาทบาทของสื่อใหม่ที่ใครๆ ก็ครอบครองได้ พร้อมกับศักยภาพการเข้าถึงเนื้อหามากมายโดยที่คุณไม่ต้องเสียเงินซักบาท ยิ่งทำให้อนาคตของการอ่านสื่อเก่าๆ อย่างหนังสือที่มีต้นทุนในการอ่านสูง ประกอบกับมีเนื้อหาที่จำกัดยิ่งริบหรี่ลงทุกที

(E-Book หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มาแย่งพื้นที่หนังสือ)

                ความต่างด้านพลังการสื่อสาร หากมองที่การอ่านเพียงอย่างเดียว การอ่านบนสื่อออนไลน์ก็ดูเหมือนจะมีคะแนนเป็นต่อหนังสืออยู่ระดับหนึ่ง แต่หากเจาะลึกไปในด้านคุณค่าของความรู้และความน่าเชื่อถือของเนื้อหา หนังสือกลับยังคงมีแต้มต่อมากกว่าสื่อออนไลน์อยู่ดี

                อาจเพราะหนังสือมีเนื้อหาที่นิ่งกว่าเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ เพราะบนโลกโซเชียลมีเดียมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง สามารถปรับปรุงแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาได้ตลอดเวลา และหากต้องการความน่าเชื่อถือจากผู้เขียนบนโลกออนไลน์ก็มีโอกาสพลาดสูง เพราะผู้เขียนบนโลกออนไลน์สามารถปกปิดชื่อจริงได้ อีกทั้งการคัดลอกเนื้อหาบนโลกออนไลน์ก็ทำได้ง่ายๆ จึงยากที่จะค้นหาผู้เขียนต้นฉบับคนแรก ยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของเนื้อหาบนสื่อออนไลน์มีน้อยมาก  



แตกต่างจากหนังสือที่ส่วนใหญ่จะมีหน้าบรรณานุกรมอยู่ท้ายเล่มที่ระบุประวัติผู้เขียนอย่างชัดเจน ทำให้สามารถค้นหาประวัติผู้เขียนได้ง่ายกว่า ประกอบกับหนังสือเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ที่ทำให้เกิดการแตกฉานได้ดีกว่าสื่อรูปแบบอื่น เนื่องจากหนังสือได้มีการขมวดรวมเนื้อหาอย่างเข้มข้น ก่อนกระจายประเด็นต่างๆ ผ่านรูปแบบ บท ทำให้ผู้อ่านได้ชำแหละเนื้อหานั้นๆ ในทุกๆ มิติ ส่งผลให้ผู้อ่านหนังสือจะเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหานั้นๆ ได้ลึกซึ้งถึงแก่นมากกว่าผู้อ่านจากเว็บไซต์

 หากคุณๆ ทั้งหลายได้ทนอ่านมาถึงจุดนี้ก็ขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง และขอย้ำว่า บทความนี้ไม่ได้ต้องการสื่อให้เห็นว่าหนังสือเป็นสื่อทีมีพลังมากกว่าสื่อรูปแบบอื่นๆ แต่กำลังพุ่งเป้าไปที่คำถามที่ว่า ทำไมต้องอ่านหนังสือ สิ่งที่สังคมกำลังมุ่งหวังในการสร้างนักอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่เราก็ไม่อาจมองข้ามความคิดของคนรุ่นใหม่บางกลุ่มที่มีทัศนคติต่อหนังสือแตกต่างออกจากคนเมื่อก่อนได้ ที่เห็นการซื้อหนังสือเป็นความสิ้นเปลือง เนื้อหาไม่หลากหลาย ขณะที่บนเว็บไซต์ก็อ่านได้เหมือนกันไม่เสียเงินแถมมีเนื้อหามากมายมากกว่าหนังสือเสียอีก การพุ่งเป้าไปที่ รักการอ่าน หรือ รักหนังสือจึงอาจเป็นชุดความคิดที่ไม่สอดรับต่อความเข้าใจของคนยุคนี้เท่าไหร่ เราอาจต้องมุ่งไปที่ การอ่านจากหนังสือแตกต่างจากการอ่านอื่นๆ อย่างไรเพื่อสังเคราะห์ให้เห็นอัตลักษณ์ความโดดเด่นจากการอ่านหนังสือที่ไม่สามารถหาได้จากสื่ออื่นๆ โดยใช้ความเข้มข้นของเนื้อหาเป็นแรงเสริม แม้ท้ายที่สุด มันอาจจะไม่ทำให้ยอดการซื้อหนังสือเพิ่มขึ้นได้หรือจำนวนนักอ่านอาจไม่ได้เพิ่มอะไรมากมายแต่หากลดจำนวนผู้ไม่ชอบอ่านหนังสือลงได้อีกซัก 1% ก็ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของวงการหนังสือแล้ว

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.tkpark.or.th/stocks/extra/00067e.pdf
http://203.131.219.167/km2559/2015/02/26/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99/
ความลับเฉพาะ : อ่านหนังสือทำไมในยุค 4.0? ความลับเฉพาะ : อ่านหนังสือทำไมในยุค 4.0? Reviewed by tonygooog on 08:29:00 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. The 5 Most Popular Slots in December 2021 - CasinosSites.One
    The Best Slots of December 2021 bet surface area · Big 토토꽁머니 Santa · Starburst · 룰렛 사이트 Jackpot 6000 · Microgaming · Playzee 토토 커뮤니티 · Red Tiger Casino 바카라 사이트 · Vegas Crest Casino · Red

    ตอบลบ

Ad Home

รูปภาพธีมโดย fpm. ขับเคลื่อนโดย Blogger.