เรื่อง : สกลวรรธน์ ธัญคุณากูลรัชต์
การแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร ถือเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาลในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจโดยแสดงผ่านประสิทธิภาพและศักยภาพในการทำงานของพวกเขา ทว่า บทสรุปการแก้ปัญหาด้านการเกษตรโดยเฉพาะข้าวในประเทศไทย กลับวนอยู่กับปัญหาเดิมๆ ไม่จบไม่สิ้น แถมไม่มีทีท่าที่จะรักษาเนื้อร้ายที่เกาะกินชาวเกษตรกรอย่างราคาข้าวให้หายขาดอย่างถาวรซักที วันนี้ทาง Bansorn จึงขอวิจารณ์ในการแก้ปัญหาข้าวของรัฐบาลชุดนี้กันเสียหน่อยครับ โดยการกำหนด Rack ในครั้งนี้ เป็นการประเมินภาพรวมของการแก้ปัญหาของรัฐบาลนะครับ
การแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร ถือเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาลในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจโดยแสดงผ่านประสิทธิภาพและศักยภาพในการทำงานของพวกเขา ทว่า บทสรุปการแก้ปัญหาด้านการเกษตรโดยเฉพาะข้าวในประเทศไทย กลับวนอยู่กับปัญหาเดิมๆ ไม่จบไม่สิ้น แถมไม่มีทีท่าที่จะรักษาเนื้อร้ายที่เกาะกินชาวเกษตรกรอย่างราคาข้าวให้หายขาดอย่างถาวรซักที วันนี้ทาง Bansorn จึงขอวิจารณ์ในการแก้ปัญหาข้าวของรัฐบาลชุดนี้กันเสียหน่อยครับ โดยการกำหนด Rack ในครั้งนี้ เป็นการประเมินภาพรวมของการแก้ปัญหาของรัฐบาลนะครับ
1. 1. ราคาข้าว
การแก้ไขของรัฐบาล : Rack E
มาตรการตลอดทั้งปี : Rack E-
มาตรการตลอดทั้งปี : Rack E-
(ราคาข้าว 2 ธันวาคม 2557)
ถ้าพูดถึงการค้าข้าวขึ้นมาแล้ว ราคาข้าวถือเป็นประเด็นแรกๆ
ที่ต้องมีการพูดถึงกันอย่างแน่นอน
และก็ถือเป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐบาลและเกษตรกรทุกคราไป
เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรขึ้นอยู่กับหลายตัวแปร ทั้งภูมิอากาศ
กฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ ปริมาณการผลิตในปีนั้นๆ
สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบด้านบวกหรือลบให้กับราคาข้าวแทบทั้งสิ้น โดยในปีนี้
ทางรัฐบาลได้ประสบปัญหาสินค้าข้าวมีปริมาณการผลิตที่มากเกินไป
ผนวกกับมีฝนตกชุกทำให้ ข้าวมีความชื้นสูง
ทำให้คุณภาพลดลงไปมากและไม่สามารถขายหรือส่งออกในราคาที่ดีได้ อย่างไรก็ดี
รัฐบาลชุดนี้ยังไหวตัวทัน ดำเนินเกมแก้ปัญหาด้วย “จำนำยุ้งฉาง”การควบคุมและสร้างบทลงโทษกับผู้ประกอบการที่ฉ้อฉลอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด
อีกทั้งยังมีการสนับสนุนให้ชาวนาที่มีความสามารถด้านสื่อออนไลน์ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการโรงสีหรือตลาดข้าวได้
ก็ถือว่าได้ว่ากู้สถานการณ์มาได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ผลผลิตจากพืชเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
1. 2. แปรรูปข้าว
การแก้ไขของรัฐบาล : Rack E+
มาตรการตลอดทั้งปี : Rack C
มาตรการตลอดทั้งปี : Rack C
(การแปรรูปข้าวอินทรีย์กุลาร้องให้จากชุมชนบ้านอุ่มแสง)
นับเป็นโชคดีของประเทศไทย
เพราะขณะที่นานาชาติกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่การลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเต็มตัว
ทางรัฐบาลไทยก็สามารถจับกระแสโลกดังกล่าวไว้ทัน และหลังจากประกาศยุทศาสตร์ประเทศไทย
4.0 ภาครัฐก็ระดมปล่อยนโยบายและมาตรการต่างมากมาย ในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ (SME) หรือแม้กระทั้งเกษตรกรให้เป็นชาวนาไซเบอร์
โดยการพัฒนาครั้งนี้รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ
ที่มีการสนับสนุนให้เข้าสู่กระบวนการโรงงานในการแปรรูปและใช้นวัตกรรมต่างๆ
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าว เช่น กระทรวงพาณิชย์ที่มีการกล่าวไว้ใน “ข้าวไทยไซเบอร์” รวมทั้งมีการระดมการวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่างๆ
มาปรับปรุงและเริ่มทยอยออกมาใช้งานจริง ทว่า การดำเนินการดังกล่าวกลับไม่ดังพอที่ประชาชนทั่วไปจะให้ความสนใจพอ
เพราะรัฐบาลยังขาดพลังในการเผยแพร่ข่าวสารที่ทรงพลัง
ทำให้ประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญกับการแปรรูปและยังคงค้าขายด้วยวิธีเดิมๆ อยู่ แถมระบบราชการแบบไทยๆ
ดึงให้การทำงานประสานกันระหว่างรัฐกับประชาชน ในการนำนวัตกรรมมาใช้จริงล่าช้าเสียเหลือเกิน
สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพลักษณ์ของการพัฒนาแปรรูปข้าวในปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร
1. 3. การช่วยเหลือเกษตรกรด้านต้นทุนการผลิต
การแก้ไขของรัฐบาล : Rack C+
มาตรการตลอดทั้งปี : Rack C
ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่รัฐบาลต้องมีการมาตรการช่วยเหลือชาวนาตลอดทั้งปี
เนื่องจากภาวะการเงินของชาวนาส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับการปลูกข้าวและการขายข้าว
ซึ่งการหวังผลกำไรจากพืชเศรษฐกิจที่มีปัจจัยเสริมมากและค่อนข้างอ่อนไหวง่าย
ซ้ำยังต้องมาถูกหักรายได้ให้กับพ่อค้าคนกลางและตลาดข้าวเปลือกต่างๆ
ทำให้รายได้ที่แท้จริงที่ถึงมือเกษตรกรมีแค่หยิบมือเท่านั้น ขณะที่ชาวนาต้องมีนำเงินมาเป็นต้นทุนสำหรับการทำนาในปีต่อไป
แต่เงินที่มีก็ยังไม่เพียงพอจะให้ดำเนินการทำนาได้ตลอดลอดฝั่ง ทำให้รัฐบาลเริ่มบัญชากลุ่มสถาบันการเงินในรูปแบบรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการออกมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อให้เกษตรกรกู้เพื่อนำไปใช้ด้านต่างๆ เช่น สินเชื่อวิสาหกิจชุมชนเพื่อจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตร
สินเชื่อ Smart Farmer สินเชื่อชะลอการขายข้าว รวมไปถึงบัตรเครดิตชาวนา ที่กำหนดวงเงินตามความจำเป็นและเหมาะสมในการผลิตข้าวของเกษตรกรแต่ละราย
แต่วงเงินสูงสุดกำหนดไว้ไม่เกิน 50,000 บาท
โดยเมื่อรูดใช้บัตรจะได้รับการยกเว้นหรือปลอดดอกเบี้ย 30 วัน
จากนั้นจะคิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ (MRR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 7%
ต่อปี ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งนี้ถือเป็นมาตรการใหม่ล่าสุด ซึ่งยังไม่รู้ว่ามันจะทำงานได้ดีอย่างที่
ธ.ก.ส. คาดหวังไว้หรือไม่ เพราะวงเงินที่เกษตรกรต้องการใช้จ่ายในทำนาต้องมากกว่า 50,000 บาท อย่างแน่นอน ทุกวันนี้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยยังใช้บริการกู้นอกระบบอยู่
และมีการกู้ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อราย
ดังนั้นการมาตรการจากธนาคารเพื่อเกษตรกร
คงต้องเดินเกมให้ทันความต้องชาวนามากยิ่งขึ้น
คอลัมน์ Golden Ranks : 3 สิ่งการแก้ปัญหาข้าวสไตล์รัฐไทย
Reviewed by tonygooog
on
08:45:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: